เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง สืบได้สั่งเสียลูกน้องคนสนิทและเขียนจดหมายสั่งเสีย 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระรับผิดชอบ และทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง รวมถึงมอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ เสียงปืนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ได้จบชีวิตของเขาลง และเป็นจุดเริ่มต้นของ ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายและใจ
เดี๋ยวนี้เขื่อนเริ่มเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์แล้ว เพราะป่าข้างนอกหมดแล้ว
หากว่าการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ยังทำได้อีกต่อไป
ผมว่า
อนุรักษ์ในอนาคตคงไม่มีความหมายอะไร เหลือแต่ชื่อเอาไว้ว่าเคย
เป็นป่าอนุรักษ์มาก่อน” และ “ผมคิดว่าการสร้างเขื่อนเป็นกระบวนการ
ทำลายแหล่งพันธุกรรม ตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ
สัตว์ป่า ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของผืนป่าทั้งหมดที่มนุษย์มิอาจจะ
สร้างขึ้นมาใหม่ได้” สืบ นาคะเสถียรเคยพูดไว้
สืบ นาคะเสถียร หรือชื่อเดิม
"สืบยศ" เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31
ธันวาคม อนุรักษ์ในอนาคตคงไม่มีความหมายอะไร เหลือแต่ชื่อเอาไว้ว่าเคย
เป็นป่าอนุรักษ์มาก่อน” และ “ผมคิดว่าการสร้างเขื่อนเป็นกระบวนการ
ทำลายแหล่งพันธุกรรม ตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ
สัตว์ป่า ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของผืนป่าทั้งหมดที่มนุษย์มิอาจจะ
สร้างขึ้นมาใหม่ได้” สืบ นาคะเสถียรเคยพูดไว้
พ.ศ. 2492 ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี บุตรของ นายสลับ
อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และนางบุญเยี่ยม สืบมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน
โดยสืบเป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือ กอบกิจ นาคะเสถียร
และ กัลยา รักษาสิริกุล สืบมีบุตรสาว 1 คนชื่อชินรัตน์ ในวัยเด็ก สืบ ได้ช่วยงาน
ในนาของมารดาด้วยความอดทน บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำ
อะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ และเป็น
ผู้ที่มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด สืบได้ช่วยทำงานในนา ของมารดา เมื่อว่างจาก
ภาระดังกล่าว ก็ออกท่องเที่ยวไปกับเพื่อน โดยมีหนังสติ๊กคู่ใจ
สืบได้เข้าเรียนชั้น ประถมตอนต้น ที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ช่วงปิดเทอมว่างจากการเรียน ก็ออกไปช่วยทางบ้าน ยกเสริมแนวคันนาเอง เพื่อ
ไม่ให้มีข้อพิพาทกับเพื่อนบ้าน เมื่อเรียนจบชั้นประถม 4 ได้ไปเรียนต่อที่ โรงเรียน
เซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากนั้น
ได้เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2511 และจบ
การศึกษาในปี พ.ศ. 2514 และต่อมาได้ทำงานที่ส่วนสาธารณะของการเคหะ
แห่งชาติ ใน พ.ศ. 2517 สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2518 ได้เริ่ม
ชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์
สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 สืบได้รับทุนการศึกษาจากบริติชเคาน์ซิล
เรียนต่อในระดับปริญญาโทอีกครั้ง สาขาอนุรักษ์วิทยา ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน
ในอังกฤษ และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2524
หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบ นาคะเสถียร
ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กอง
อนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัด
สินใจเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงานเกี่ยวกับสัตว์ป่า งานแรกของสืบที่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี เป็นจุดที่ทำให้สืบได้เรียน
รู้ว่าได้มีผู้มีอิทธิพลบุกรุกทำลายป่าจำนวนมาก โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย ต่อมา
ในปี พ.ศ. 2522 ได้เรียนต่ออีกที่อังกฤษ ถึงปี 2524 ได้กลับมารับตำแหน่งหัวหน้า
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็น
วิทยากร ฝึกอบรมพนักงานพิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น และ 2 ปีต่อมา ในปี 2526 สืบ
ได้ขอย้ายตัวเองเข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่า
เพียงอย่างเดียว
ในระยะนี้ เป็นจังหวะที่สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งาน
วิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบทำได้ดี และมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก
สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิตจิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพันกับสัตว์ป่าอย่าง
จริงจัง งานวิจัยในช่วงแรกของสืบ เป็นการวิจัยนก โดยศึกษาจำนวนนกชนิดและ
พฤติกรรมรวมถึงการทำรังของนกสืบได้เริ่มใช้เครื่องมือในการบันทึกงานวิจัย ซึ่ง
รวมถึง กล้องวีดีโอ กล้องถ่ายภาพ และการสเก็ตซ์ภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ได้กลาย
เป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา ได้แก่ ภาพถ่าย
สไลด์สัตว์ป่าหายากนับพันรูป ม้วนเทปวิดีโอภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า
และปัญหาการทำลายป่าในเมืองไทยหลายสิบม้วน โดยผลงานทั้งหมดสืบเป็น
คนถ่ายและตัดต่อเองทั้งหมด
สืบ นาคะเสถียร ได้รับตำแหน่งหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่า โดยมีงบ
ประมาณเริ่มต้นเพียง 8 แสนบาท ในการรับผิดชอบพื้นที่แสนกว่าไร่ โดยไม่มี
การอนุมัติอุปกรณ์ช่วยชีวิตสัตว์ป่าแม้แต่เรือ แม้กระนั้นสืบได้ทำงานทั้งวันทั้งคืน
และศึกษาข้อมูลจากทุกแหล่งทั้งหนังสือในเมืองไทย และหนังสือจากต่างประเทศ
ตลอดจนขอความรู้จากนายพรานเก่าที่มีความชำนาญในการจับสัตว์ป่ามาก่อน
ในปี พ.ศ. 2529 สืบได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพ
สัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) บริเวณแก่ง
น้ำเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สืบได้รับหน้าที่ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์
ป่าที่ตกค้างในอ่างเก็บน้ำ เนื่องจากปัญหาการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเท
เวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม ถึงแม้ว่าโครงการอพยพสัตว์ป่า
สามารถช่วยสัตว์ได้กว่า 1,364 ตัว สืบรู้สึกเสียใจกับสัตว์อีกจำนวนมากที่เสีย
ชีวิตไป สืบเริ่มเข้าใจปัญหาและ ตระหนักว่างานวิชาการเพียงอย่างเดียว ไม่
สามารถช่วยเหลือป่าและสัตว์ป่าจากการถูกทำลายได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็น
ปัญหาระดับชาติ โดยจะเห็นได้กรณีรัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณ
ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี สืบได้เข้าคัดค้านอย่างเต็มที่
สืบได้เขียนรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนเชี่ยวหลาน เพื่อบอกทุกคนให้รู้ว่า
การช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง
สืบยืนยันว่าการสร้างเขื่อนได้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจน ที่อยู่
อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรง กระทั่งความช่วยเหลือจากมนุษย์ ไม่สามารถชดเชย
ได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ ซึ่งในที่สุดโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจนได้
ถูกระงับไป
ในระหว่างที่เขียนรายงานเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้รับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษา
พันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี เพิ่มอีกตำแหน่ง และต่อมาในปี
พ.ศ. 2530 สืบได้ปฏิบัติงานในโครงการศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อม เพื่อ
พัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส
สืบ นาคะเสถียร ได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ในปี
พ.ศ. 2531 และสืบได้พยายามเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และป่าห้วยขาแข้ง
มีฐานะเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ จากองค์การสหประชาชาติ โดยเล็งเห็น
ว่าฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญ ที่จะคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร
โดย ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุนเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่อังกฤษ พร้อม
กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่ง
เป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในปี พ.ศ. 2533 สืบ
ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร ได้เป็นวิทยากรบรรยาย
และร่วมอภิปรายในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง โดยเน้นเรื่อง
"การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาที่เกี่ยวข้อง"
และ "การอพยพสัตว์ป่าตกค้างในเขื่อนเชี่ยวหลาน"
ด้วยป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า ทำให้
หลายฝ่ายต่างก็จ้องบุกรุกเข้ามาหาผลประโยชน์ สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่ว
แน่ที่จะรักษาป่าผืนนี้ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ได้ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า "ผมมารับงานที่นี่
โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน" ตั้งแต่วันแรกที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ
ถึงแม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถปกป้องป่าได้ เนื่องจาก
การดูแลผืนป่าขนาดมากกว่าหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบ
ประมาณและกำลังคนที่จำกัด รวมถึงการทุจริตของเจ้าหน้าที่ กลายเป็นปัญหา
ใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย และมากกว่านั้นปัญหาความยากจนของชาวบ้าน
ที่อยู่อาศัยโดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทำให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลที่หวังผลประโยชน์
ได้ว่าจ้างชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์
ในทรรศนะของสืบ หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา
โดยให้ชาวบ้านอพยพออกนอกแนวกันชน และพัฒนาแนวกันชนให้เป็นป่าชุมชนที่
ชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับความสนใจและความ
ร่วมมือจากเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด
การเสียสละด้วยชีวิต
เช้ามืดวันที่ 1
กันยายน พ.ศ.
2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง
สืบได้สั่งเสียลูกน้องคนสนิทและเขียนจดหมายสั่งเสีย 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ
รับผิดชอบ และทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง รวมถึงมอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์
ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุ
ประสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่ง
พลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ เสียงปืนดังขึ้นนัด
หนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ได้จบชีวิตของเขาลง และเป็น
จุดเริ่มต้นของ "ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่า
และธรรมชาติ ด้วยกายและใจ"
สองอาทิตย์ต่อมา บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับ
ร้อยคน ได้เปิดประชุมเพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุกป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์
ป่าห้วยขาแข้ง โดย สืบ นาคะเสถียร ได้พยายามจัดตั้งการประชุมหลายสิบครั้ง
แต่ไม่มีการตอบรับจากเจ้าหน้านี้สักครั้งจนกระทั่งการเสียชีวิตของสืบ ทำให้มีข้อ
กล่าวว่า หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน
การจากไปของ สืบ นาคะเสถียร ได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ
และแสวงหาความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบมิได้
เป็นเพียงข้าราชการอาชีพที่มีภาระการงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่า
นั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทย เป็นผู้ที่
เคยต่อสู้เพื่อปกปักรักษาทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยไม่คำ
นึงภัยอันตราย การจากไปของเขานับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความ
สูญเสียที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ผ่านพ้นไป โดยปราศจาก
ความทรงจำ
suriya mardeegun
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น