สงครามโลกครั้งที่สอง และนาซีเยอรมัน โดยยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
ยุทธภูมิในแอฟริกาเหนือ การรุกของมุสโสลินี
หลังการสงบศึกกับฝรั่งเศสในปี1940 กองทัพอิตาลีในแอฟริกาเหนือ
อันประกอบด้วยกองทัพที่5 ทางตะวันตกของลิเบีย และกองทัพที่10
คิดเป็นทหาร10กองพล มีกำลังพลราว236,000นาย ปืนใหญ่1,800กระบอก
รถถัง340คัน ขณะที่ฝ่ายพันธมิตร อังกฤษ-ฝรั่งเศส รวม14กองพล
ทหารอังกฤษจำนวน100,000นายนั้น 36,000นาย อยู่ในอียิปต์
ประจันหน้ากับกองทัพอิตาลีในลิเบีย
ดุลย์ทางทหารต้องพังลงเนื่องจากการยอมจำนนของฝรั่งเศสในปี1940 อังกฤษ ต้องการยึดเมืองท่าตูนิส ในตูนีเซีย เพื่อตัดเส้นทางส่งกำลังข้ามเมดิเตอเรเนียนของอิตาลี แต่วันที่28มิถุนายน กองทัพฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือ ได้ยอมอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส อิตาลีจึงโจมตีอียิปต์ทันที
การบุกกำหนด เริ่มในวันที่15กรกฏาคม 1940 โดยพลเอกโรดอลโฟ กราเซียนี แต่ปัญหาของเขาคือ กองทัพอิตาลีมีเส้นทางส่งกำงบำรุงเพียงเส้นทางเดียวจากลิเบียถึงอเล็กซานเด รีย และเส้นทางนั้นมีฐานทัพอังกฤษสองแห่งตั้งอยู่ คือที่ซิดีบารานี่ และเมอร์ซามาทรูห์ กราเซียนีตัดสินใจจะรอจนกว่าจะมีรถบรรทุกน้ำอย่างเพียงพอ โดยขอเลื่อนการบุกไปจนเดือนตุลาคม แต่มุสโสลินีปฏิเสธ สั่งให้กราเซียนีบุกโดยเร็ว
กองทัพที่10 ของอิตาลี เข้าโจมตีแนวป้องกันของอังกฤษ ในวันที่13กันยายน และเผชิญหน้ากับการต้านทานของอังกฤษอย่างหนัก และอุณหภูมิที่ร้อนระอุ อิตาลียึดซีดิบารานีได้ แต่ก็ยังไกลจากอเล็กซานเดรีย กราเซียนี ได้พักกองทัพเพื่อฟื้นฟูกำลังจากการรบ ฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ถอยกองพลยานเกราะที่7ออกไป
เนื่องจากการขยายแนวรบยืดยาวของอิตาลี ได้เนิ่นนานเข้าสู่เดือนตุลาคม โดยในวันที่ที่ มุสโสลีนี ได้เข้าหารือกับริบเบนทรอบ และเคาต์ เชียโน ในเรื่องการส่งกองทัพเยอรมันเข้าไปในแอฟริกาเหนือ มุสโสลินีกล่าวว่า อิตาลีสามารถสู้รบในแอฟริกาเหนือเพียงลำพังได้ แต่ใจจริงมุสโสลินีคิดว่า หน่วยยานเกราะของเยอรมันจำเป็นสำหรับการรุกเข้าไปในอเล็กซานเดรีย และอียิปต์ 21ตุลาคม มุสโสลีนีสั่งให้กราเซียนีรุกไปยังมอซาร์ มาทรู อย่างรวดเร็ว แต่กราเซียนียังไม่เสี่ยงบุกเช้าไป เนื่องจากได้รับข่าวการบุกเข้าบอลข่านของอิตาลี จึงจะเฝ้ารอกำลังเสริม แม้มุสโสลีนีขู่ว่าจะปลดเขาออกก็ตาม
ฝ่ายอังกฤษภายใต้การบัญชาการของ เซอร์ ริชาร์ด โอ คอนเนอร์ จึงได้ทำการเข้าตีโต้ โดยวันที่9ธันวาคม อังกฤษเข้าตีแนวอิตาลีโดยที่ไม่ทันตั้งตัว กองทหารอินเดียที่4และหน่วยรถถังได้เข้าโจมตีเบนิวา ของอิตาลี กองพลยานเกราะของอังกฤษที่7ได้เข้าทำการตัดการถอยของกองพลลิเบียที่2ของ อิตาลี การเซียนีจึงได้นำกองทัพที่21 ล่าถอยออกไปอย่าง โดยกองพลคาตานซาโรของอิตาลี ถูกทำลายจนเกือบจะพินาศ อิตาลีถูกจับเป็นเชลยถึง38,000คน ปืนใหญ่237กระบอกและรถถัง73คนถูกยึด โดยฝ่ายอังกฤษเสียทหารเพียง624นาย
edit @ 15 Apr 2008 09:45:40 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
ดุลย์ทางทหารต้องพังลงเนื่องจากการยอมจำนนของฝรั่งเศสในปี1940 อังกฤษ ต้องการยึดเมืองท่าตูนิส ในตูนีเซีย เพื่อตัดเส้นทางส่งกำลังข้ามเมดิเตอเรเนียนของอิตาลี แต่วันที่28มิถุนายน กองทัพฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือ ได้ยอมอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส อิตาลีจึงโจมตีอียิปต์ทันที
การบุกกำหนด เริ่มในวันที่15กรกฏาคม 1940 โดยพลเอกโรดอลโฟ กราเซียนี แต่ปัญหาของเขาคือ กองทัพอิตาลีมีเส้นทางส่งกำงบำรุงเพียงเส้นทางเดียวจากลิเบียถึงอเล็กซานเด รีย และเส้นทางนั้นมีฐานทัพอังกฤษสองแห่งตั้งอยู่ คือที่ซิดีบารานี่ และเมอร์ซามาทรูห์ กราเซียนีตัดสินใจจะรอจนกว่าจะมีรถบรรทุกน้ำอย่างเพียงพอ โดยขอเลื่อนการบุกไปจนเดือนตุลาคม แต่มุสโสลินีปฏิเสธ สั่งให้กราเซียนีบุกโดยเร็ว
กองทัพที่10 ของอิตาลี เข้าโจมตีแนวป้องกันของอังกฤษ ในวันที่13กันยายน และเผชิญหน้ากับการต้านทานของอังกฤษอย่างหนัก และอุณหภูมิที่ร้อนระอุ อิตาลียึดซีดิบารานีได้ แต่ก็ยังไกลจากอเล็กซานเดรีย กราเซียนี ได้พักกองทัพเพื่อฟื้นฟูกำลังจากการรบ ฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ถอยกองพลยานเกราะที่7ออกไป
เนื่องจากการขยายแนวรบยืดยาวของอิตาลี ได้เนิ่นนานเข้าสู่เดือนตุลาคม โดยในวันที่ที่ มุสโสลีนี ได้เข้าหารือกับริบเบนทรอบ และเคาต์ เชียโน ในเรื่องการส่งกองทัพเยอรมันเข้าไปในแอฟริกาเหนือ มุสโสลินีกล่าวว่า อิตาลีสามารถสู้รบในแอฟริกาเหนือเพียงลำพังได้ แต่ใจจริงมุสโสลินีคิดว่า หน่วยยานเกราะของเยอรมันจำเป็นสำหรับการรุกเข้าไปในอเล็กซานเดรีย และอียิปต์ 21ตุลาคม มุสโสลีนีสั่งให้กราเซียนีรุกไปยังมอซาร์ มาทรู อย่างรวดเร็ว แต่กราเซียนียังไม่เสี่ยงบุกเช้าไป เนื่องจากได้รับข่าวการบุกเข้าบอลข่านของอิตาลี จึงจะเฝ้ารอกำลังเสริม แม้มุสโสลีนีขู่ว่าจะปลดเขาออกก็ตาม
ฝ่ายอังกฤษภายใต้การบัญชาการของ เซอร์ ริชาร์ด โอ คอนเนอร์ จึงได้ทำการเข้าตีโต้ โดยวันที่9ธันวาคม อังกฤษเข้าตีแนวอิตาลีโดยที่ไม่ทันตั้งตัว กองทหารอินเดียที่4และหน่วยรถถังได้เข้าโจมตีเบนิวา ของอิตาลี กองพลยานเกราะของอังกฤษที่7ได้เข้าทำการตัดการถอยของกองพลลิเบียที่2ของ อิตาลี การเซียนีจึงได้นำกองทัพที่21 ล่าถอยออกไปอย่าง โดยกองพลคาตานซาโรของอิตาลี ถูกทำลายจนเกือบจะพินาศ อิตาลีถูกจับเป็นเชลยถึง38,000คน ปืนใหญ่237กระบอกและรถถัง73คนถูกยึด โดยฝ่ายอังกฤษเสียทหารเพียง624นาย
edit @ 15 Apr 2008 09:45:40 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
ระบบอาวุธทางบกของกองทัพเยอรมัน
Pzkw(Panzerkampfwagen)Iหรือ แพนเซอร์ มาร์ค 1
รถถังเบาสำหรับสนับสนุนทหารราบของกองทัพนาซีเยอรมัน ที่ได้สร้างหลังจากการถูกจับเซนต์สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมันได้ออกแบบในช่วงทศวรรษที่1930 และได้ทำการผลิตแบบจำนวนมากเมื่อปี1934 และเยอรมันยังได้ส่งแพนเซอร์ 1 ไปรบเพื่อเป็นการทดสอบประสิทธิภาพในสงครามกลางเมืองสเปน และ จีน ยังได้ซื้อไปใช้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นด้วย
หลังการประเมินผลในการรบในสเปน แพนเซอร์ 1 รบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อสงครามโลกระเบิดขึ้น จึงได้เข้าร่วมสมรภูมิหลายแห่ง แต่ช่วงกลางสงคราม รถถังรุ่นใหม่ๆของกองเยอรมันมีอานุภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ แพนเซอร์ 1 จึงลดบทบาทลง และมีการนำตัวถังรถ มาติดตั้งปืนขนาด75มม. เพื่อเป็นปืนใหญ่อัตตาจรและรถพิฆาติรถถังด้วย
ข้อมูล
หนัก-5.4 ตัน
ยาว--4.02เมตร
สูง--2เมตร
พลประจำรถ--2คน
เกราะ--7-13มิลลิเมตร
อาวุธ---ปืนกลขนาด7.92มม. สองกระบอก หรือปืนต่อสู้อากาศยาน20มม. บรีด้า(สเปน)
ความเร็ว--50กม./ชม. บนถนน 37กม./ชม. ในภูมิประเทศ พิสัยทำการบนนถนน200กม.ภูมิประเทศ 175กม.
Pzkw II หรือ แพนเซอร์ 2
รถถังรุ่น2ของกองทัพเยอรมันเพื่อทดแทนรถถังแพนเซอร์ 1 มีความแข็งแกร่งกว่าแพนเซอร์ 1 ทำการผลิตในปี1934 โดยศึกษาจากการทดลองใช้แพนเซอร์ 1 รุ่นติดปืน20มม.ในสงครามกลางเมืองสเปน แพนเซอร์2 จึงติดตั้งปืนต่อสู้รถถัง20มม. เพื่อใช้ในการต่อต้านยานยนต์ของข้าศึก แพนเซอร์ 2 เป็นกำลังหลักของเยอรมันในการรบที่โปแลนด์ในปี1939 และเป็นกำลังสำคัญในการรุกสู่ฝรั่งเศสในปี1940
สายการผลิตของแพนเซอร์2 ปิดลงในปี1942 เมื่อเยอรมันรุกสุ่ตะวันออก อีกทั้งการปรากฏตัวของรถถังรุ่นใหม่ของเยอรมัน และประสิทธิภาพอันน่ากลัวของรถถังโซเวียต แพนเซอร์ 2 จึงไม่ได้ใช้ในการรบแนวหน้า แต่มีการเอาตัวถังรถถมาติดปืนใหญ่75มม. เพื่อเป็นรถพิฆาติรถถัง และติดปืนใหญ่สนาม105มม. เพื่อใช้เป็นปืนใหญ่อัตตาจร ในชื่อ เวปส์(Weps)
ข้อมูล
หนัก--7.2ตัน
ยาว--4.8เมตร
สูง --- 2.2เมตร
พลประจำรถ--3นาย
เกราะหนา--5-14.5มม.
อาวุธ---หลัก-ปืนต่อสู้รถถัง20มม. 1กระบอก -รอง- ปืนกล7.92มม. แบบMG-34จำนวน1กระบอก
ความเร็ว--43กม./ชม. พิสัยทำการ 200กม.
Pzkw III (แพนเซอร์ 3 )
รถถังแบบ3ของกองทัพเยอรมัน ออกแบบในทศวรรษที่1930 และเป็นกำลังหลักของเยอรมันแทบในทุกสมรภูมิ มันถูกออกแบบมาให้ใช้งานในการต่อต้านรถถัง ซึ่งต่างจาก แพนเซอร์ 1 และ แพนเซอร์ 2 ที่เน้นการใช้งานในด้านสนับสนุนทหารราบ ด้วยอาวุธทรงอานุภาพขึ้น คือ ปืนต่อสู้รถถัง37มม. และต่อมาติดปืน50มม. จึงทรงอานุภาพมากในการต่อสู้กับรถถังข้าศึก
ปี1934 นายพลไฮนซ์ กูเดเรียน แห่งกองทัพบกเยอรมัน ต้องการรถถังที่น้ำหนักไม่เกิน24ตัน ความเร็ว35กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อเป็นรถถังหลักของหน่วยแพนเซอร์ แพนเซอร์ 3 จึงผลิตออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น และแพนเซอร์ 3 ยังมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือ มีการใช้ระบบแหนบรองรับน้ำหนักตัวรถแบบ ทอร์ชั่น บาร์ หรือแหนบรูปปีกนก ซึ่งเป็นระบบใหม่ล่าสุดของโลกในยุคนั้น และเป็นรถถังรุ่นแรกของโลกที่ใช้ระบบนี้ด้วย
แพนเซอร์ 3 เป็นกำลังหลักของเยอรมัน ใช้ในการรบตั้งแต่โปล์แลนด์ นอร์เวย์ ฝรั่งเศส แอฟริกาเหนือ และแนวรบด้านรัสเซีย ซึ่งในด้านรัสเซียนี่เอง แพนเซอร์ 3 ต้องเผชิญหน้ากับ T-34 รถถังกลางของโซเวียต ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่า เยอรมันจึงต้องนำ แพนเซอร์ 3 ไปติดตั้งปืนต่อสู้รถถังขนาด75มม. เพื่อต้านทานรถถังโซเวียตร่วมกับรถถังรุ่นใหม่ๆที่มีจำนวนน้อยของเยอรมันใน ช่วงนั้น โดยได้สร้างเป็นรถถังแบบไม่มีป้อม ติดปืน75มม. ใช้ชื่อว่า Stug III
ถึงแม้ในช่วงกลางถึงปลายสงคราม จะมีรถถังรุ่นใหม่ๆมาช่วงชิงสมรรถนะของแพนเซอร์3 แต่รถรุ่นนี้ก็ได้ถูกใช้งานต่อไปจนจบสงคราม
ข้อมูล
หนัก--22ตัน
ความยาว--5.52เมตร
สูง--2.5เมตร
พลประจำรถ--5นาย
เกราะหนา--5-70มิลลิเมตร
อาวุธ---หลัก- ปืนต่อสู้รถถัง37มม. หรือปืน50มม. หรือปืน75มม. -อาวุธรอง- ปืนกล7.92มม. แบบMG-34 จำนวน2กระบอก
ความเร็ว---40กม./ชม. บนถนน และ19กม./ชม. บนภูมิประเทศ
ระยะทำการ---155กิโลเมตร
Pzkw IV แพนเซอร์ 4
เป็นรถถังที่เป็นกระดูกสันหลังแห่งกองทัพรถถังของเยอรมันอย่างแท้จริง มีความคล่องตัวสูง มีอานุภาพทำลายสูง
รถรุ่นนี้เริ่มออกแบบในปี1934 เมื่อนายพลเอก ไฮนซ์ กูเดเรียน เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกเยอรมัน ต้องการรถถังหลักที่มีน้ำหนักไม่เกิน24ตัน ความเร็วไม่ต่ำกว่า35กม./ชม. เพื่อใช้ในภารกิจต่อต้านทหารราบและยานยนต์ และติดตั้งปืนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งผลที่ได้ขั้นแรกคือ แพนเซอร์ 3 และแพนเซอร์ 4 ก็ปรากฏตัวออกมาในปี1937 ในรุ่นผลติจำนวนแรกๆ37คัน และก็มีการผลิตเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี1939
นอกจากจะใช้ระบบแหนบรองรับตัวถังแบบทอร์ชั่น บาร์ แบบแพนเซอร์ 3 แล้ว แพนเซอร์4 นั้น ได้ติดตั้งปืนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยช่วงแรกได้ติดปืนใหญ่ลำกล้องสั้นขนาด75มม. L24ซึ่งได้ใช้เป็นหัวหอกในการบุกฝรั่งเศสในปี1940 โดยแพนเซอร์ 4 มีอานุภาพสูงกว่ารถถังแบบเรอโนลและโซมัวของฝรั่งเศส และยังมีอำนาจการยิงที่สูงกว่ารถถังแบบ ชาร์ล BI ของฝรั่งเศสและรถถังแบบมาทิลด้าของอังกฤษด้วย แพนเซอร์ 4 รุ่นนี้ก็ยังได้ปฏิบัติการในแอฟริกาเหนือด้วย
ตั้งแต่ปี1941 แพนเซอร์ 4 ได้ติดตั้งปืนใหญ่75มม. L40 ที่มีลำกล้องยาวกว่าเดิมเพื่อเพิ่มระยะยิงและอำนาจการทำลาย แต่หลังจากการบุกรัสเซียในปี1941 เยอรมันได้เผชิญหน้ากับรถถังหนักแบบ เควี-1ซึ่งมีขนาดใหญ่และเกราะหนากว่าแพนเซอร์4 และรถถังกลางแบบ ที-34 ของโซเวียต ซึ่งมีอานุภาพสูงจนน่าตกใจ ฝ่ายเยอรมันจึงได้พัฒนาปืนใหญ่ลำกล้องยาว 75มม. L48 มาใช้งานในแพนเซอร์ 4 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนของรถถังโซเวียต จนกระทั่งเวลาต่อมาเยอรมันได้ผลิตรถถังแบบ แพนเธอร์ มาทดแทนแพนเซอร์4
แพนเซอร์ 4 ถือว่าเป็นรถถังกำลังหลักของเยอรมันอย่างแท้จริง เพราะมีอานุภาพสูง ใช้งานง่าย เครื่องยนต์คงทน ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับรถถังหลักของอเมริกาแบบ M-4 เชอร์แมน และรถถัง ที-34 ของรัสเซีย และถูกผลิตออกมาเรื่อยๆจนจบสงครามเป็นจำนวนกว่า9,000คัน และกองทัพบกซีเรีย ยังได้ใช้รถถังรุ่นนี้ในช่วงหลังสงครามต่อมาด้วย
ข้อมูล
หนัก--24-28ตัน
ยาว--5.89เมตร
กว้าง-- 2.88เมตร
สูง---2.66เมตร
พลประจำรถ--5นาย
เกราะหนา--10-80มม. สามารถเสริมเกราะกระโปรงป้องกันป้อมปืนและสายพานได้
อาวุธ --- หลัก - ปืนใหญ่75มม. ลำกล้องสั้น ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นปืน75มม. ลำกล้องยาว อาวุธรอง ปืนกล MG-34 ขนาด7.92มม. สองกระบอก
พิสัยทำการ--300กิโลเมตร
ความเร็ว --- บนถนน 40กม./ชม. ในภูมิประเทศ 20กม./ชม.
Pzkw V Panther แพนเซอร์ 5 สมญานาม แพนเธอร์(เสือดำ)
หนึ่งในตำนานรถถังของนาซีเยอรมัน โดยการออกแบบเริ่มในปี1941 เมื่อเยอรมันบุกรัสเซีย และไปพบกับรถถังแบบ ที-34 ของรัสเซีย ที่มีความเร็วสูง ติดปืนที่ทรงอานุภาพ สายพานกว้างเกาะถนนได้ดี และลักษณะพิเศษคือ มีเกราะที่ลาดเอียง มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความหนาของเกราะโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดเกราะ และยังช่วยลดการปะทะโดยตรงของกระสุนปืน ทำให้ฝ่ายเยอรมันตกใจในอานุภาพที่สูงส่งของที-34มาก เมื่อยึดรถถังรุ่นนี้ได้ในสนามรบ จึงได้นำมาศึกษา และต้องการผลิตรถถังแบบที-34 ให้ได้ แต่ทว่า การผลิตรถถังเลียนแบบที-34นั้น เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ จึงต้องออกแบบรถถังใหม่โดยให้คุณลักษณะแบบที-34
และสิ่งที่ได้จากทดลองผลิตคือ รถถังแบบ แพนเซอร์ 5 หรือแพนเธอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนที-34 แต่สิ่งที่เหนือกว่าคือ ขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย เกราะที่หนากว่า และติดตั้งปืนใหญ่75มม. L70 ลำกล้องยาว ซึ่งมีอานุภาพการทำลายล้างที่เหนือจินตนาการอย่างมาก สามารถยิงเจาะเกราะได้ลึกมาก และยิงต่อต้านรถถังได้ไกลกว่า2,000เมตรอย่างแม่นยำ ไกลกว่ารถถังทุกรุ่นของพันธมิตรและโซเวียต
แพนเธอร์เริ่มการผลิตในปี1943 แต่เนื่องจากต้องเร่งรีบผลิตออกสู่สมรภูมิ เพราะโซเวียตเริ่มการตีโต้กองทัพเยอรมัน และกำลังรบรถถังของโซเวียตที่มีจำนวนอันประมาณไม่ได้ ได้ถาโถมเข้าสู่แนวรบของเยอรมันอย่างหนัก เยอรมันจึงต้องรีบผลิตแพนเธอร์ออกสู่สนามรบโดยเร็ว ทำให้มีปัญหาด้านเครื่องยนต์ รถถังบางคันเครื่องยนต์เสียหายทันทีหลังออกสู่สมรภูมิไม่นาน และในการรบที่เมืองเคิร์ซ ปี1943 รถถังแพนเธอร์จำนวนมากเครื่องยนต์ขัดข้อง ทำให้แสดงความสามารถในการรบไม่ดีนัก แต่ปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ก็ถูกแก้ไขในภายหลัง
แต่ในแนวรบด้านตะวันตก แพนเธอร์ กลับมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยรถถังหลักของพันธมิตรไม่อาจต้านทานได้เลย โดยในการรบที่นอร์มังดี้ ฝรั่งเศสในปี1944 รถถังแพนเธอร์ของเยอรมันได้สังหารรถถังเชอร์แมนของสหรัฐไปเป็นจำนวนมากไม่ แพ้รถถังไทเกอร์เลยทีเดียว
แต่เนื่องจากรถถังเป็นรถถังที่ออกแบบดีมาก ทำให้ต้องการช่างเทคนิคที่มีความชำนาญสูง ทำให้ผลิตรถถังแพนเธอร์ได้ไม่มากนัก อีกทั้งช่วงปลายสงคราม กองทัพอากาศพันธมิตรยังได้ทิ้งระเบิดโจมตีโรงงานผลิตอาวุธของเยอรมันอย่าง หนัก ทำให้ผลิตรถถังออกมาได้น้อย แต่เพราะการออกแบบอันยอดเยี่ยมนี่เอง ทำให้แพนเธอร์ เป็นต้นแบบการผลิตรถถังของโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา
ข้อมูล
หนัก--45ตัน
ยาว--6.87เมตร เมื่อรวมปืนยาว8.66เมตร
สูง-- 2.99เมตร
กว้าง--3.42เมตร
พลประจำรถ---5นาย
เกราะหนา--15-120มม.
อาวุธ--- หลัก- ปืนใหญ่ลำกล้องยาว 75มม. L70 อาวุธรอง ปืนกลMG-34 ขนาด7.92มม. 2กระบอก
ความเร็ว--46-55กม./ชม.
พิสัยทำการ-- 250กิโลเมตร
Pzkw VI Tiger แพนเซอร์ 6 ไทเกอร์
สุดยอดแห่งตำนานรถถังของนาซีเยอรมันและของโลก ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นรถถังที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก ถ้าเทียบเรื่องจำนวนในการสังหารรถถังด้วยกัน
คำสั่งการออกแบบไทเกอร์ เริ่มในวันที่26พฤษภาคา ปี1941 1เดือนก่อนบุกรัสเซีย โดยมีบริษัทเอกชนสองบริษัทคือ ปอร์เช่ และเฮนเซล เข้าร่วมการแข่งขันออกแบบรถถังไทเกอร์ แต่ว่าป้อมปืนนั้น ถูกแยกไปผลิตและพัฒนาโดยบริษัทกรุ๊ปป์
เมื่อสงครามในรัสเซียอุบัติขึ้น เยอรมันต้องการรถถังหนัก ที่มีความแข็งแกร่งสูง ติดอาวุธทรงอานุภาพเพื่อรับมือกับรถถังรัสเซีย ไทเกอร์ จึงเป็นอาวุธที่มีความจำเป็นยิ่งยวด ทั้งสองบริษัทจึงรีบออกแบบเพื่อให้ชนะการแข่งขันโดยเร็ว
แต่การออกแบบของสองบริษัทก็ค่อนข้างต่างกัน เช่น รถของเฮนเซล(VK3601) จะออกแบบให้ปืนประจำรถสามารถใช้กระสุนเจาะเกราะทังสเตนได้ แต่ก็จะเลือกว่าจะติดตั้งปืนใดดีระหว่าง ปืน75มม. L70 แบบรถถังแพนเธอร์ และ 88มม. L56 ส่วนรถทดสอบของปอร์เช่(VK3001) จะใช้เครื่องยนต์เบนซิน และติดปืน88มม. L 56 เท่านั้น
และการทดสอบในปี1942 วันเกิดของฮิตเลอร์ รถทดสอบของเฮนเซลนั้น ประสบปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ ทำความเร็วได้เพียง45กม./ชม. ช้ากว่าปอร์เช่ถึง5กม. แถมเครื่องยนต์ของเฮนเซลก็ยู่ในสภาพร้อนจัดแทบจะระเบิด แต่รถทดสอบของปอร์เช่นั้นก็มีปัญหาเรื่องช่วงล่าง ระบบเกียร์ และระบบบังคับเลี้ยว ถึงแม้จะเร็วกว่ารถของเฮนเซลถึง5กิโลเมตรก็ตามโชคยังเข้าข้างเฮนเซล ที่การทดสอบเน้นที่การขับเคลื่อนในทางวิบากผ่านภูมิประเทศ ซึ่งรถของเฮนเซลนั้นคล่องแคล่วกว่า รถของปอร์เช่วึ่งระบบเลี้ยวมีปัญหาจึงช้าเป็นเต่าคลาน ทำให้รถทดสอบVK3601ของเฮนเซลได้ชัยชนะ และนำไปสร้างเป็นรถถังรุ่นที่6 หรือ ไทเกอร์ ของเยอรมัน และเริ่มผลิตในปลายปี1942
การออกแบบไทเกอร์นั้น ช่วงล่างและตัวถังผลิตจากเหล็กกล้าแผ่นเรียบขนาดใหญ่ นำมาเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า และยังมีระบบสลักคล้องเหล็กแต่ละชิ้นทำให้มีความคงทนกว่าเดิม และเหล็กชิ้นใหญ่ ทำให้ไทเกอร์ทนต่อการยิงของปืนแทบทุกชนิด
ป้อมปืนนั้นออกแบบเป็นทรงเกือกม้า มีความแข็งแกร่งคงทนสูง ป้อมผ.บ.รถอยู่ทางซ้ายของตัวรถ แต่ป้อมผ.บ.แบบเก่าอยุ่ในวิถียิงของพลปืนรัสเซีย จึงปรับให้เตี้ยลง ตัวถังรถด้านหน้าเป็นที่นั่งของพลวิทยุ ติดปืนกลแบบ เอ็มจี34 ซึ่งเป็นที่หวาดกลัวของทหารพันธมิตรและโซเวียตมาก ปืน88มม. L56 มีระยะยิงต่อสู้รถถังไกลกว่า3,000เมตร โดยจะยิงแม่นยำ100%ที่ระยะ1,500เมตร แม่นยำ80%ที่ระยะ2,000เมตร และ50%(ยิง2นัดถูก1นัด)ที่ระยะ3,000เมตร และระบบกล้องเล็งวัดระยะแบบ3ตา ทำให้ไทเกอร์ ได้เปรียบรถถังข้าศึกตรงจุดนี้ เพราะปืนของไทเกอร์ยิงได้เร็วและแม่นมาก และไทเกอร์ยังมีกระสุนเจาะเกราะแบบพิเศษ นอกเหนือจากกระสุนระเบิดต่อสู้รถถังและกระสุนเจาะเกราะธรรมดา นั่นคือกระสุนเจาะเกราะหัวรบทังสเตน แบบPzgr 40 ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมากนัก กระสุนรุ่นนี้ผลิตมาจากโลหะผสมทังสเตน มีความเร็วปากลำกล้องสูงและยิงได้ไกลมาก สามารถเจาะเกราะได้ทุกชนิด100% เน้นการใช้งานในการทำลายเป้าหมายที่มีเกราะหนัก เมื่อรวมกับปืน88มม.แล้ว ไทเกอร์จึงยิ่งทรงอานุภาพมากขึ้น แต่กระสุนรุ่นนี้ก็ผลิตออกมาน้อย เพราะช่วงสงครามเยอรมันขาดแคลนแร่ทังสเตนมาก จึงให้เบิกใช้ไม่มากนัก
ไทเกอร์ ได้ออกรบในสมรภูมิสำคัญทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก แอฟริกาเหนือ และอิตาลี โดยในแอฟริกาเหนือ กองทัพน้อยแอฟริกา ครอล์ฟ ของนายพลรอมเมล ได้ใช้รถถังไทเกอร์จำนวนน้อย เข้าต่อสู้กับกองทัพรถถังจำนวนมหาศาลของกองทัพพันธมิตรอังกฤษ-อเมริกา และทำลายรถถังพันธมิตรได้เป็นจำนวนมาก ในแนวรบด้านตะวันออก ไทเกอร์ก็ได้แสดงพลังฝังรถถังโซเวียตจมดินเป็นจำนวนมาก โดยที่รถถังหนักของโซเวียตแบบKV-1 และ KV-2 ไม่อาจต้านทานได้ แม้ช่วงปี1944 โซเวียตจะผลิตรถถังหนักรุ่นใหม่แบบ โจเซฟ สตาลิน-2 (JS-2) ติดปืนขนาด122มม. ซึ่งใหญ่กว่าไทเกอร์ได้ก็ตาม แต่ก็หาต้านทานไทเกอร์ได้ไม่ โดยข้อมูลการรบในวันที่2มกราคม 1945 กองพันรถถังหนักที่507ของเยอรมันที่มีรถถังไทเกอร์เป็นกำลังหลัก ได้ปะทะกับกองพลยานเกราะของโซเวียตที่มี JS-2 จำนวนมาก ผลคือ รถถังไทเกอร์1 คัน สามารถทำลายรถถังJS-2ได้ถึง22คัน ด้วยปืน88มม. ที่ยิงได้ไกล แม่นยำ และรวดเร็วกว่าโดยที่รถถังของโซเวียตไม่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่รถถัง ไทเกอร์ได้เลย ทำให้กำลังพลโซเวียตต้องถอยกลับไปตั้งหลักใหม่
ในแนวรบตะวันตก นอร์มังดี ปี1944 ร้อยเอก มิคาเอล วิทมานน์ แห่งกองพลยานเกราะ เอส.เอส. ที่1 ลิปสแตนดาร์ต ได้นำรถถังไทเกอร์6คันเข้าทำการต่อสู้กับรถถังพันธมิตร และสามารถสังหารรถถังพันธมิตรได้มหาศาล
เนื่องจากประสิทธภาพของไทเกอร์เป็นที่หวาดหวั่นแก่ ทหารพันธมิตร ทำให้เกิดอาการทางจิตในช่วงสงครามที่เรียกว่า "ไทเกอร์ โฟเบีย" หรืออาการหวาดกลัวรถถังไทเกอร์ นั่นคือเมื่อมีคนพูดถึงรถถังไทเกอร์ ผู้มีอาการดังกล่าวจะเกิดอาการสั่นกลัว และเมื่อได้ยินเสียงรถถังไทเกอร์หรือเห็นตัวรถถัง ก็แทบจะเป็นประสาทไปเลย
จุดอ่อนอันน่ากลัว ของ ไทเกอร์คือ เครื่องยนต์ที่มีปัญหา(เป็นความผิดพลาดในการออกแบบรถต้นแบบของเฮนเซล) ความเชื่องช้า เพราะน้ำหนักที่มาก โดยในการรบที่เมืองคาห์คอฟ และเคียฟ สภาพถนนเป็นโคลนตม รถถังไทเกอร์ที่มีน้ำหนักมาก ได้ติดหล่ม และเร่งเครื่องจนเครื่องยนต์พังเสียหาย จึงตกเป็นเป้าของปืนรถถังโซเวียต ทำให้เยอรมันต้องเสียไทเกอร์จำนวนมากในการรบครั้งนั้น
ไทเกอร์ ถูกผลิตตั้งแต่ปี 1942-1944 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,350คัน แม้จะมีน้อย แต่ก็สำแดงพลังการรบให้ทหารพันธมิตรเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับการยกย่องจากนักการทหารในรุ่นหลังว่า มันคือสุดยอดเครื่องจักรสังหารอย่างแท้จริง
ข้อมูล
หนัก--57 ตัน (บางรุ่นหนักถึง62ตัน)
ยาว---8.45เมตร
กว้าง---3.8เมตร
สูง--- 3เมตร
พลประจำรถ--5นาย
เกราะหนา--25-120มิลลิเมตร
อาวุธ---ปืนใหญ่ 88มม. L56 1กระบอก อาวุธรอง ปืนกล7.92มม. 2-3กระบอก เครื่องยิงระเบิดควัน90มม. 6ท่อยิง
ความเร็ว---38-45กม./ชม.
พิสัยทำการ---195ก.ม.
รถถัง คิงไทเกอร์ รุ่นติดป้อมปืนแบบเฮนเซล
คิงไทเกอร์ รุ่นติดป้อมปืนแบบปอร์เช่ ที่ยกเลิกการผลิตไป
Pzkw VI Ausf B Tiger 2 or KingTiger แพนเซอร์ 6 อาส์ฟ บี ไทเกอร์สอง หรือ คิงไทเกอร์
เป็นสุดยอดรถถังที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในยุคนั้น โดยมีย้ำหนักกว่า70ตัน ไทเกอร์2 หรือคิงไทเกอร์ รถถังรุ่นนี้ได้ทำการออกแบบและผลิตในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี1942 หลังจากที่ไทเกอร์1 ออกสู่สมรภูมิได้ไม่นาน เนื่องจากการคาดการณ์ของเสนาธิการฝ่ายเยอรมันว่า โซเวียตกำลังผลิตรถถังที่ทรงอานุภาพมากๆขึ้น รถถังรุ่นนี้ก็ถูกผลิตโดยสองบริษัท เฮนเซล และปอร์เช่ แต่ก็ต่างกันที่ป้อมปืนเท่านั้น ช่วงล่างรถใช้เหมือนกัน แต่ป้อมปืนแบบปอร์เช่ก็ถูกผลิตออกมาเพียง50ป้อมเท่านั้น เพราะว่าส่วนโค้งด้านหน้าป้อมของปอร์เช่นั้นมีความหนา110มิลลิเมตร บางกว่าป้อมของเฮนเซลถึง70มิลลิเมตร และป้อมผ.บ.รถของปอร์เช่ที่ยื่นออกมานั้นมีเกราะที่บางมาก ซึ่งอันตรายมากหากถูกยิง จึงยกเลิกการผลิตป้อมแบบปอร์เช่ไป ให้ผลิตแต่ป้อมแบบเฮนเซลมาแทน
นอกจากเกราะที่หนาแล้ว คิงไทเกอร์ ยังติดปืนขนาด88มม. L71 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนต่อสู้รถถังทุกชนิดในยุคนั้น แต่จุดอ่อนก็คือ เครื่องยนต์ที่คิงไทเกอร์ใช้เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกันกับไทเกอร์1 เครื่องรุ่นเดียวกัน แต่รับน้ำหนักมากกว่า จึงมีปัญหาการกินน้ำมันอย่างมาก( โดยกินน้ำมันถึง7ลิตรในการวิ่งระยะทาง1ลิโลเมตร ) และปัญหาการขัดข้องด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์รุ่นนี้ก็ถือว่าทรงอานุภาพที่สุด
ข้อมูลการรบเท่าที่มีการบันทึกไว้ คือข้อมูลของทหารสหรัฐในการรบที่ป่าอาร์เดนส์ ประเทศเบลเยี่ยม หรือที่เรียกว่าการรบแห่งบัลจ์ โดยคิงไทเกอร์ได้สร้างความตกตะลึงให้แก่ฝ่ายพันธมิตรอย่างมาก เพราะพวกเขาพบว่า ปืนใหญ่แทบทุกชนิดของฝ่ายพันธมิตร ไม่สามารถสร้างความเสียหายใดๆให้แก่คิงไทเกอร์ได้เลย แม้จะโจมตีด้วยเครื่องบินก็ตาม แต่ข้อมูลการรบของฝ่ายเยอรมันนั้นแทบจะไม่มีเลย นั่นก็เพราะมีข้อมูลที่เปิดเผยในช่วงหลังสงครามว่า ในช่วงปลายสงครามและเยอรมันใกล้จะแพ้ ศูนย์ยุทธการบกเยอรมันที่เมืองพอตส์ดัมส์ ได้เผาทำลายเอกสารข้อมูลและรูปถ่ายที่ได้มาระหว่างสงครามไปเกือบหมด รวมทั้งข้อมูลของคิงไทเกอร์ด้วย ซึ่งถ้าพิจารณาทฤษฏีนี้ ก็มีความเป็นไปได้สุงว่า ข้อมูลของคิงไทเกอร์นั้นได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว
ข้อมูล
หนัก--68-70ตัน(บางรุ่นอาจหนักถึง76ตัน)
ยาว--10.3เมตร
กว้าง---3.8-4.3เมตร
สูง--- 3.3เมตร
พลประจำรถ--5นาย
เกราะหนา--40-185มิลลิเมตร
อาวุธ----ปืนใหญ่ 88มม. L71 1กระบอก อาวุธรอง ปืนกล7.92มม. 3กระบอก(ปืนกลภาคพื้นMg-34จำนวน2กระบอก และปืนกลต่อสู้อากาศยานMG-42 จำนวน1กระบอก)
ความเร็ว---38-42กม./ชม.
พิสัยทำการ--- 170กิโลเมตร
Weps เวปส์
เป็นปืนใหญ่อัตตาจรของกองทัพเยอรมัน ซึ่งเป็นการเอาปืนใหญ่สนามขนาด105มม. มาติดตั้งบนตัวถังของรถถังแบบแพนเซอร์ 2 ซึ่งก่อนจะมีการสร้างเวปส์ เยอรมันได้นำปืน75มม. มาติดตั้งบนรถถังแพนเซอร์ 2 ก่อนแล้ว
ระหว่างการรบในรัสเซีย กองทัพเยอรมันต้องการอาวุธยิงสนับสนุนมาก เวปส์จึงผลิตออกมาเพื่อใช้ยิงปืนใหญ่สนับสนุน มันถูกผลิตออกมาในปี1943 จำนวน575คัน และนำไปออกรบแนวหน้า และได้สร้างชื่อเสียงในการรบเป็นอย่างมาก แต่สายพานการผลิตก็ปิดลงในปี1943 ปีเดียวกัน เพื่อไปผลิตรถพิฆาติรถถังรุ่นใหม่แต่ก่อนปิดสายการผลิตก็ได้ผลิตออกมา ถึง675คัน และก็ทำการรบรับใช้กองทัพเยอรมันจนจบสงคราม
ข้อมูล
หนัก--12ตัน
ยาว--4.8เมตร
กว้าง---2.28เมตร
สูง---2.32เมตร
พลประจำรถ--5นาย
เกราะหนา--10-30มม.
อาวุธ--ปืนใหญ่สนาม 105มม. 1กระบอก ปืนกล7.92มม. 1กระบอก
ความเร็ว---40กม./ชม.
พิสัยทำการ---220กิโลเมตร
Hummel ฮัมเมล หรือ บัมเบิล บี
ปืนใหญ่อัตตาจร 150มม. ของเยอรมัน เนื่องมาจากการรบในรัสเซีย กองทัพรัสเซียได้ถาโถมเข้ามามหาศาล ฮัมเมล จึงถูกผลิตออกมาเพื่อใช้ในการยิงสนับสนุนและต่อต้านการบุกของรถถังรัสเซีย โดยการนำปืนใหญ่สนาม150มม. มาติดตั้งบนตัวถังรถถังแพนเซอร์ 4 และได้ย้ายเครื่องยนต์มาไว้ส่วนกลางรถ เพื่อความสะดวกของพลยิง และเปิดหลังคาป้อม เพื่อรองรับปืนใหญ่
แต่ฮัมเมล ก็บรรทุกกระสุน150มม. ได้เพียง18นัดเท่านั้น จึงเป็นปัญหาในการรบแบบติดพันเพราะต้องมีรถบรรทุกกระสุนติดตามตลอดเวลา ฮัมเมลเริ่มการผลิตในปี1942 จำนวนแรกกว่า500คัน และกองทัพเยอรมัน ต้องการบรรจุฮัมเมล1กองพันในกองพลยานเกราะ เพื่อใช้ในการสนับสนุนหน่วยยานเกราะด้วย
ข้อมูล
หนัก--28ตัน
ยาว--7.17เมตร
กว้าง--2.97เมตร
สูง--2.81เมตร
พลประจำรถ--6นาย
เกราะหนา--10-30มม.
อาวุธ--ปืนใหญ่สนาม150มม. และปืนกล7.92มม.
ความเร็ว--42กม./ชม.
พิสัยทำการ---215กิโลเมตร
88mm.Antiaircraft Gun ปืนต่อสู้อากาศยาน 88มม.
มันคืดปืนใหญ่ที่ทรงอานุภาพที่สุดรุ่นหนึ่งของ เยอรมัน มันสามารถยิงได้ ทั้งต่อสู้อากาศยาน และยิงต่อสู้รถถัง โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่ปืน แค่เปลี่ยนกระสุนเท่านั้น
ปืนรุ่นนี้ออกแบบมาตั้งแต่ช่วงปลายสงครามโลกครั้ง ที่1 และก็ได้มีการพัฒนาต่อมา ตั้งแต่รุ่นแรก คือ Flak-18 ถึง Flak-37 ใช้กระสุนขนาด88มม. L56 และยังมีการพัฒนาระบบเรดาห์ตรวจจับเครื่องบินเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิง ด้วย ต่อมาในปี1939 ได้มีการพัฒนาปืนรุ่น Flak-41 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนรุ่นแรกขึ้นมา
แต่เหตุที่มีการใช้ปืนรุ่นนี้ในการต่อสู้รถถังนั้น มันเกิดจากการค้นพบแทบจะโดยบังเอิญว่า ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด88มม. นี้ ใช้ยิงทำลายรถถังได้ดีที่สุดในโลก เพราะอำนาจการยิงแบบวิถีตรง ความเร็วปากลำกล้องที่สูง ซึ่งก็เป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพที่สุดเพียงไม่กี่ชนิดที่ทำการยิงได้ทั้ง2มิติ และเยอรมัน ก็ได้นำปืนชนิดนี้ไปเป็นต้นแบบในการสร้างปืนต่อสู้รถถัง88มม. และเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังในเวลาต่อมา
ปืน88มม. นี้ ได้ถูกใช้งานในหลายสมรภูมิ ตั้งแต่การรบในฝรั่งเศส สมรภูมิแอฟริกาเหนือ แนวรบตะวันออก แม้แต่การใช้ป้องกันเยอรมันจากการโจมตีทางอากาศ โดยเฉพาะในช่วงปลายสงครามในแนวรบด้านตะวันออก เมื่อกองทัพแดงโซเวียตรุกกระหน่ำอย่างหนัก และเยอรมันขาดแคลนรถถัง ปืนรุ่นนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการยันกำลังยานเกราะของโซเวียต
โด้วยระยะยิงที่ไกล แม่นยำ และพลังทำลายที่สูง มันจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับพลรถถังพันธมิตรและโซเวียตอย่างมาก โดยฝ่ายอเมริกันได้พบว่า รถถังเชอร์แมนของฝ่ายตนถูกทำลายจากระยะ10กิโลเมตรด้วยปืนใหญ่ชนิดนี้เป้ นจำนวนมากโดยไม่มองไม่เห็นปืนฝ่ายเยอรมัน จนพลรถถังอเมริกันถึงกับตั้งฉายาให้กับรถถังของตัวเองว่า ไฟแช็กรอนสัน เพราะสโลแกนของไฟแช็กรอนสันคือ กดแชะเดียวติด เพราะรถถังเชอร์แมนเวลาถูกยิงมักมีสภาพเหมือนไฟแช็กรอนสัน นั่นคือ กดแชะเดียว(ยิงนัดเดียว)ติด(ระเบิดไฟลุกท่วม) นั่นเอง
ข้อมูล
ยาว--25ฟุต
พลยิง--6นาย
อัตราการยิง--8-10นัด/นาที
กระสุน---88 มม. L56 และ 88มม. L74 ในรุ่นFlak41
ระยะยิง----ภาคพื้น 10,600เมตร(ในรุ่นFlak41ยิงภาคพืนดินได้ไกล15,000เมตร) ยิงขึ้นฟ้า 14,680เมตร
StuG
Stug ย่อมาจาก Sturmgeschutz ตรงกับภาษาอังกฤษที่ว่า Assualt Cannon หรือปืนใหญ่จู่โจม โดยแนวคิดนี้เริ่มในปี1936 ก่อนสงครามโลก โดยกองทัพเยอรมันต้องการปืนใหญ่เคลื่อนที่สนับสนุนทหารราบ และในปี1940 Stug III ที่ใช้ตัวถังรถถังแพนเซอร์ 3 ติดปืนใหญ่ตรึงกับตัวถังขนาด75มม. ก็ออกสู่สนามรบ และต่อมาก็มีการนำตัวรถแพนเซอร์ 4 มาติดดาวุธแบบเดียวกัน
เมื่อสงครามดำเนินต่อไปเรื่อยๆ บทบาทของรถถังไม่มีป้อมแบบStugนี้ ก็ยิ่งมีบทบาทมากขึ้น เพราะเยอรมันต้องการรถถังแบบเร่งด่วนเพื่อยันกำลังยานยนต์ของฝ่ายตรงข้ามใน ทุกแนวรบ จึงมีแนวคิดที่จะใช้รถถังไม่มีป้อมแบบนี้เป็นอาวุธหลัก โดยรถถังแบบนี้มีข้อดีคือ มีรูปร่างเตี้ย ซ่อนพรางได้ดี และยังสามารถติดปืนที่มีอานุภาพสูงๆได้ จึงมีการผลิตตัวถึงของรถถังแพนเซอร์ 3 และแพนเซอร์ 4 มาติดตั้งปืนแบบนี้มากขึ้น
แต่การที่จะใช้รถถังรุ่นไม่มีป้อมแทนรถถังถังรุ่นมี ป้อมนี้ ใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะจุดอ่อนของรถรุ่นนี้คือ การปรับหันป้อมปืนนั้น จำเป็นต้องหันรถทั้งคัน(เพราะตัวปืนถูกตรึงกับตัวรถ) ทำให้ไม่มีความคล่องตัวเมื่อทำการรบกับรถถังที่มีป้อม แต่จะมีประโยชน์ในการเป็นรถสนับสนุนหน่วยทหารที่รุกไปข้างหน้า และใช้ในภารกิจพิฆาติรถถัง ซึ่งได้ไว้ลายในสนามรบหลายที่ ซึ่งต่อมาเยอรมันได้พัฒนาตัวถึงรถถังแพนเซอร์ 4 ให้ติดปืนใหญ่105มม. ในชื่อStuG 42 และติดปืนใหญ่ 150มม. ในรุ่นStug 33
ข้อมูล
หนัก--23-25ตัน
ยาว--6.85เมตร(รุ่นStug III ) 6.7เมตร(รุ่นStug IV)
กว้าง---2.95เมตร
สูง---2.16เมตร(Stug III) 2.2เมตร(Stug IV)
พลประจำรถ-4-5นาย
เกราะหนา---10-80มม.
อาวุธ--- ปืนใหญ่75มม. ทั้งรุ่นลำกล้องสั้นและลำกล้องยาว ปืน105มม.(Stug 42)
ความเร็ว--43กม./ชม.
พิสัยทำการ---- 155กิโลเมตร
Nashorn นาชอร์น
นาชอร์น (Rhino - แรด) คือรถพิฆาติรถถังของเยอรมัน เนื่องจากการรบในรัสเซียช่วงปลายปี1941ถึงปี1942 เยอรมันได้สูญเสียกำลังรถถังเป็นอย่างมากในการรบ จึงเกิดแนวคิดที่จะเอาปืนต่อสู้รถถังประสิทธิภาพสูงมาติดบนรถถังเพื่อใช้ เป็นรถพิฆาติรถถัง และใช้ยิงสนับสนุนหน่วยยานเกราะ นา๙อร์นที่ออกแบบเสร็จในปี1942 ก็ได้รับการผลิตออกมาเพื่อทำการรบต่อต้านรถถังของโซเวียตที่มีจำนวนมหาศาล โดยได้นำปืนต่อสู้รถถัง88มม. L71(แบบที่ใช้ในคิงไทเกอร์) มาติดตั้งบนตัวถังรถถังแพนเซอร์4 เพื่อใช้เป็นปืนใหญ่อัตตาจรพิฆาติรถถัง
เนื่องจากขนาดที่ใหญ่ของปืน ทำให้นาชอร์นต้องเปิดป้อมออก เพื่อสามารถรองรับระบบปืนได้ และทันทีที่มันออกสู่สนามรบ มันกลายเป็นอาวุธที่จำเป็นทันที เนื่อจจากมันสามารถหยุดยั้งรถถังได้อย่างเด็ดขาด ถึงแม้ช่วงปลายสงคราม เยอรมันจะสามารถผลิตรถพิฆาติรถถังรุ่นใหม่ๆออกมาได้ก็ตาม แต่นาชอร์น ก็ถูกผลิตและใช้งานจนจบสงคราม
ข้อมูล
หนัก---28ตัน
ยาว--8.44เมตร
กว้าง---2.95เมตร
สูง---2.65เมตร
พลประจำรถ--6นาย
เกราะหนา---20-30มม.
อาวุธ -- ปืนใหญ่88มม. L71 ปืนกล7.92มม.
ความเร็ว--42กม./ชม.
พิสัยทำการ---235กม.
Marder มาร์เดอร์
หลังการบุกรัสเซียในปี1941 ปรากฏว่า เยอรมันต้องเผชิญหน้ากับการบุกกระหน่ำอย่างหนักของกองทัพรถถังรัสเซีย จนเยอรมันขาดแคลนรถถังสำหรับใช้ในการรบในแนวหน้า
เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้ เยอรมัน จึงได้ยึดรถถังเก่าๆของชาติที่ถูกยึดครอง มาติดตั้งปืนใหญ่75มม. เพื่อใช้ในภารกิจต่อสู้รถถัง และเป็นต้นแบบในการพัฒนารถพิฆาติรถถังในเวลาต่อมา
ถึงแม้มาร์เดอร์ จะมีปืนที่ทรงอานุภาพ แต่ปัญหาคือ ตัวถังของรถถังที่ยึดมานั้นมีเกราะที่บางมาก(เนื่องจากเป็นรถถังรุ่นเก่า) ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ในระยะประชิดกับรถถังได้ จึงใช้ประโยชน์เป็นปืนต่อสู้รถถังอัตตาจร
ข้อมูล
น้ำหนัก---12.5ตัน
ยาว--- 5.18เมตร
กว้าง--N/A
สูง---N/A
พลประจำรถ---4นาย
เกราะหนา----9-12มม.
อาวุธ ---- ปืนต่อสู้รถถัง75มม.
ความเร็ว---34กม./ชม.
พิสัยทำการ--- 135กิโลเมตร
Hetzer เฮตเซอร์
ถึงแม้ว่า รถถัง Jagdpanzer 38 หรือ Hetzer จะมีขนาดเล็ก และติดอาวุธไม่หนักมาก คือ ปืนใหญ่ขนาด 75 มม. แต่รถถังรุ่นนี้ก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นสุดยอดรถถังล่ารถถังของนาซีเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่สอง (the best of the German tank-hunter) เพื่อตังถังเตี้ยสังเกตุเห็นได้ยาก วิ่งเร็วคล่องตัว และติดปืนที่มีประสิทธิภาพ (Low, fast, hard-hitting)
สายการผลิต เริ่มขึ้นต้นปี 1944 ซึ่งถือเป็นช่วงปลายของสงคราม ที่เยอรมันต้องถอยร่น ในทุกแนวรบ การผลิตก็เหมือนกับการผลิตรถถังล่ารถถังทั่วไปของเยอรมัน คือ นำเอาฐาน ของรถถังที่ล้าสมัยแล้ว มาถอดป้อมปืนออก แล้วติดปืนขนาดใหญ่เข้าไป Hetzer ใช้ช่วงล่างของรถถัง Panzer 38 แล้วเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูงเข้าไป เพื่อให้มีความเร็ว และมีความคล่องตัว มันถูกออกแบบให้มีความสูงน้อย หรือมีความแบน เพื่อให้ซ่อนพรางได้ดี มีความลาดเอียงของตัวถังสูง ติดตั้งปืนใหญต่อสู้รถถังขนาด 75 มม. ที่มีข้อจำกัดในการหันลำกล้อง หากจะเปลี่ยนมุมยิงมากๆ ก็จำเป็นต้องเคลื่อนตัวรถทั้งคัน แต่ถ้าเปลี่ยนมุมยิงไม่มากนัก ลำกล้องก็สามารถเลื่อนปรับได้ ด้านบนของป้อมติดปืนกล ซึ่งสามารถควบคุมการยิงจากภายในได้ โดยที่พลยิงไม่ต้องออกมายิงข้างนอก
Hetzer ถูกผลิตออกมากว่า 2,500 คัน ความได้เปรียบของมันในการซ่อนพราง ที่ยากจะสังเกตุเห็น นับเป็นข้อได้เปรียบสำหรับการรบแบบตั้งรับ ซึ่งในปี 1944-1945 เยอรมันกำลังเป็นฝ่ายตั้งรับ มันเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของรถถังฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ Hetzer ก็เหมือนรถถังที่ทรงประสิทธิภาพอื่นๆของเยอรมัน คือออกมาช้าเกินไป ที่จะเปลี่ยนทิศทางของสงคราม
Hetzer ถูกสร้างออกมาในหลายรูปแบบ ทั้งรถถังพ่นไฟ และรถของชุดซ่อมในสนาม ซึ่งคอยให้ความช่วยเหลือรถถังที่เสียหาย เพื่อนำกลับมาซ่อมแซมใหม่ นอกจากมันยังถูกวางแผนให้เป็นรถถังติดตั้งปืนใหญ่ขนาดหนัก เพื่อเป็นรถปืนใหญ่อัตตาจร แต่สงครามก็สิ้นสุดลงเสียก่อน อย่างไรก็ตามแม้สงครามโลกครั้งที่สอง จะสิ้นสุดลง แต่ Hetzer ก็ยังใช้งานต่อในกองทัพเชคโกสโลวะเกีย และกองทัพสวิตเซอร์แลนด์
ข้อมูล
น้ำหนัก--- 15.7ตัน
ยาว---6.38เมตร
กว้าง--2.63เมตร
พลประจำรถ--4นาย
สูง--2.17เมตร
เกระหนา---8.60มม.
อาวุธ---ปืนต่อสู้รถถัง75มม. และปืนกล7.92มม.
ความเร็ว---42กม.-ชม.
พิสัยทำการ--- 177กิโลเมตร
Ferdinand / Elephant เฟอร์ดินาน / เอเลแฟนต์
เนื่องจากในโครงการจัดาหารถถังไทเกอร์ รถถังไทเกอร์ต้นแบบของปอร์เช่ พ่ายแพ้ในการแข่งขันเนื่องจากระบบเกียร์และระบบบังคับเลี้ยวมีปัญหา แต่หลังจากการเปิดฉากการรบในรัสเซีย ฮิตเลอร์ ต้องการรถถังติดปืน88มม. L71 ปอร์เช่ จึงรีบพัฒนารถต้นแบบของตนอย่างเร่งรีบ เพื่อติดตั้งปืน88มม.และได้ผลิตออกมาในปี1943 และได้ส่งไปรบในสมรภูมิเมืองเคิร์ส ในชื่อ เฟอร์ดินาน หรือเลเลแฟนต์
แต่ในวันที่เฟอร์ดินานออกรบ มันคือวันแห่งหายนะอย่างแท้จริง เนื่องจากความผิดพลาดของปอร์เช่ ที่ไม่ได้ติดปืนกลป้องกันทหารราบเอาไว้ ทำให้ทหารราบสามารถเข้าประชิดตัวรถและใช้ระเบิดต่อสู้รถถังจัดการได้ พลประจำรถเฟอร์ดินานบางคันถึงกับพยายามใช้ปืน88มม.ยิงทหารที่วิ่งอยู่รอบๆรบ ทำให้สูญเสียเฟอร์ดินานจำนวนมาก
หลังการรบที่เคิร์ส เฟอร์ดินาน ได้ปรับปรุงให้ติดปืนกล7.62มม. เอาไว้ ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และถูกส่งไปทำการรบกับกองทัพพันธมิตรที่บุกอิตาลี ในช่วงปี1944 และได้รับการพิสูจน์ว่า มันคือสุดยอดแห่งอาวุธ เพราะสามารถสังหารรถถังพันธมิตรได้จำนวนมาก แต่สภาพถนนในอิตาลีกลับเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง เมื่อถนนที่เป็นหล่มเลนไม่อาจรองรับน้ำหนักกว่า65ตันของมันได้ ทำให้พลประจำรถจำนวนมากต้องทิ้งรถรุ่นนี้ไว้เบื้อง เมื่อทำการถอยจากอิตาลี
เนื่องจากความเชื่องช้า อันเป็นสืบเนื่องมาจากปัญหาตั้งแต่ยังเป็นรถทดสอบของปอร์เช่ จึงถูกผลิตออกมาเพียง90คันเท่านั้น แต่เยอรมันก็ได้ใช้งานรถรุ่นนี้ไป เรื่อยๆ และได้เข้าร่วมกับกรมรบ "ริทเธอร์" ในการรบปกป้องตอนใต้ของกรุงเบอร์ลิน ในช่วงปลายสงคราม ปี1945
ข้อมูล
น้ำหนัก---- 65ตัน
ยาว---8.14เมตร
กว้าง--- 3.38เมตร
สูง--- 2.97เมตร
พลประจำรถ--- 5นาย
เกราะ--- 30-200มิลลิเมตร
อาวุธ---ปืนใหญ่ 88มม. L71 และปืนกล7.92มม. 2กระบอก
ความเร็ว-- 30กม./ชม.
พิสัยทำการ--150กิโลเมตร
15 cm sFH 18 Howitzer ปืนใหญ่สนาม15 ซม. แบบ เอสเอฟเอช 18
15ซม. sFH 18 (sFH ย่อมาจาก Schwere Feld Haubitze แปลว่า ปืนใหญ่สนามขนาดหนัก) เป็นปืนใหญ่สนามมาตราฐานที่เยอรมันใช้ในสงครามโลกครั้งที่2 พัฒนามาจากปืนใหญ่แบบsFH 13 ในยุคสงครามโลกครั้งที่1 เยอรมันใช้ปืนใหญ่ชนิดนี้ในการรบครั้งสำคัญทุกครั้ง ในปี1942 เยอรมันได้นำปืนใหญ่รุ่นนี้มาติดตั้งบนตัวถังของรถถังแพนเซอร์4 ให้เป็นปืนใหญ่อัตตาจรในชื่อ ฮัมเมล
Sfh 18 ได้เข้าประจำการในปี1935 จำนวน1,353กระบอก และการผลิตโดยตลอดสงครามถึงปี1944 ออกมาทั้งหมด2,295กระบอก
แต่ ในแนวรบด้านตะวันออก เยอรมันได้เผชิญหน้ากับปืนใหญ่สนามแบบ A-19 ขนาด122มม. ของรัสเซีย ที่มีระยะยิงไกลถึง20กิโลเมตร ซึ่งสามารถยิงตอบโต้ปืนใหญ่เยอรมันในฐานยิงได้ด้วยระยะยิงที่ไกลกว่าถึง 7กิโลเมตร(7,700หลา) จึงได้มีการพัฒนาปืนรุ่นShf18ใหม่เพื่อสู้กับปืนของรัสเซีย โดยการปรับปรุงโดยการถอดตัวลดแรงสะท้อน(Muzzle Break)ออก และใช้ดินขับรุ่นใหม่ที่มีกำลังแรงกว่าเดิม ปืนรุ่นนี้เรียกว่า Sfh18M มีระยะยิงไกล15.1กิโลเมตร แต่ก็ยังใกล้กว่าปืนของรัสเซียอยู่ ต่อมากองทัพเยอรมันก็ได้พัฒนากระสุนแบบ 15cm R. Gr. 19 FES ที่ปรับปรุงเรื่องดินขับกระสุน และนำมาใช้กับปืนSfh18 และสามารถทำระยะได้ไกลถึง18.2กิโลเมตร ซึ่งก้ใกล้เคียงกับระยะยิงของปืนฝ่ายรัสเซีย
ช่วงระหว่างและหลังสงคราม มีอีกหลายประเทศที่ใช้ปืนรุ่นนี้ เช่น ประเทศในกลุ่มอเมริกากลาง อเมริกาใต้ เชคโกสโลวะเกีย โปรตุเกส โดยเฉพาะอย่างยิง ฟินแลนด์ โดยในปี 1940 เยอรมันได้ส่งมอบปืนรุ่นนี้ให้กับกองทัพฟินแลนด์ ที่เป็นพันธมิตร และใช้งานในสงครามจนถึงหลังสงคราม ซึ่งช่วงหลังสงคราม ฟินแลนด์ได้ใช้ปืนนี้เป็นต้นแบบในการสร้างปืนใหญ่แบบ H 88-40 ขนาด152มม. และใช้งานในปัจจุบัน
ข้อมูล
ผู้ออกแบบ-- บริษัทกรุปป์ (Krupp)
ปีที่ออกแบบ-- ทศวรรษที่1920
เริ่มผลิต--ปี 1933
น้ำหนัก--5.53ตัน
ความกว้างปากลำกล้อง - 15 เซนติเมตร (149.1มม)
กระสุน -- 149.1 มม.
มุมยิง--- สูงสุด 45องศา ต่ำสุด 3องศา
มุมส่ายปืน-- 30องศา
ความเร็วปากลำกล้อง-- 515เมตร/วินาที
ระยะยิง--- ไกลสุด 13 กิโลเมตร
15cm K-18 ปืนใหญ่สนามขนาด15ซ.ม. แบบ เค-18
เป็นอาวุธปืนใหญ่สนามขนาดหนักที่กองทัพเยอรมันใช้งานในสงครามโลกครั้งที่สอง
ข้อมูล
ปีที่ออกแบบ--1938
ผู้ผลิต -- ไรเมทัล (Rheinmetall)
หนัก--พร้อมรบ 12.46ตัน เคลื่อนที่ 18.6ตัน
ยาว-- 8.2 เมตร
ความกว้างปากลำกล้อง--15 เซนติเมตร (149.1มม.)
มุมยิง---- ต่ำสุด2องศา สูงสุด43องศา
ระยะส่ายปืน---11องศา
ความเร็วปากลำกล้อง--865เมตร/วินาที
ระยะยิง--- 24,500 เมตร
ปืนรุ่นปกติ
รุ่น leFH18M
รุ่นleFH18/40 สังเกตุแคร่ปืนเป็นแบบปืนPak40
ปืนใหญ่สนามแบบ leFH 18 ขนาด 105 มม.
ถือ เป็นปืนใหญ่มาตราฐานในกองพลปืนใหญ่ของเยอรมัน ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทไรเมทัล ในช่วงปี1929-1930 และเข้าประจำการในกองทัพบกเยอรมันในปี1935
ฝา ปิดท้ายปืนทำงานโดยระบบ hydro-pneumatic recoil system หรือระบบอาศัยแรงดันอากาศจากการยิง ปืนรุ่นนี้มีขนาดหนัก แต่ล้อของปืนกลับทำด้วยโครงไม้หรือเหล็ก สามารถใช้ม้าลากหรือลากด้วยยานยนต์ได้ ต่อมาในปี1941 จึงได้พัฒนาปืนรุ่นนี้โดยการติดตัวลดแรงสะท้อน(Muzzle Break) ที่ปากกระบอกปืนเพื่อลดแรงสะท้อนและเพิ่มระยะการยิงได้ถึง1,800หลา โดยเรียกรุ่นปรับปรุงนี้ว่า leFH 18 M และปืนรุ่นนี้ก็กลายเป็นอาวุธที่จำเป็นในหน่วยปืนใหญ่เบาของเยอรมัน และรุ่นพัฒนาอีกรุ่นหนึ่งคือ leFH 18/40 นั่นคือการนำตัวปืนleFH18m ไปติดตั้งบนแคร่ปืนของปืนต่อสู้รถถังแบบPak40 ซึ่งแคร่ปืนแบบใหม่นี้ช่วยเพิ่มอัตราการยิงให้กับปืด ลดแรงสะท้อน และเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของขีปนวิถีด้วย
ปืนใหญ่รุ่นนี้เป็นปืนที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในกอง ทัพเยอรมัน และในหน่วยยานเกราะของเยอรมันก็ได้นำปืนรุ่นนี้ไปติดตั้งบนรถถังแพนเซอร์II และใช้เป็นปืนใหญ่อัตตาจรในชื่อWeps และยังนำไปติดในตัวถังของรถรุ่นอื่นๆ เช่น ฮอตส์คิช ที่ยึดจากฝรั่งเศส แต่หลังการรบที่สตาลินกราด ในปี1943 มันกลับถูกถอดออกจากหน่วยปืนใหญ่เบาอิสระของเยอรมัน และชาติอื่นๆก็ใช้ปืนรุ่นนี้ด้วย เช่น สเปน และฮังการี
ข้อมูล
ออกแบบ- บริาษัทไรเมทัล ปี1929-30
เข้าประจำการ ปี1935
หนัก 1,985กิโลกรัม
ความยาวลำกล้อง 2.941เมตร
ความกว้างปากลำกล้อง 105มิลลิเมตร
มุมยิง ตั้งแต่-6ํ ถึง 40 ํ
ระยะส่ายปืน 56 ํ
ระยะยิง -- 10,675เมตร และ 12,325เมตร ในรุ่นleFH18M และleFH18/40
ความเร็วลำกล้อง -- 470เมตร/วินาที และ540เมตร/วินาที ในรุ่นleFH18MและleFH18/40
edit @ 10 Feb 2008 20:06:33 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
edit @ 25 Sep 2009 22:09:24 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
edit @ 25 Sep 2009 22:19:57 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
edit @ 25 Sep 2009 22:21:36 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
WillKommen!
ไฮล์ ฮิตเลอร์! สวัสดีครับ ขอต้อนรับสู่บล็อก สงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมัน และ การ์ตูนน่ารักๆ ครับ
ความ คิดในการทำบล็อกคือ ต้องการเสนอเรื่องราวสงครามโลกครั้งที่สอง ในมุมของนาซีเยอรมันบ้างครับ ข้อมูลส่วนมากในบ้านเรา มักเสนอในแง่ของสัมพันธมิตรเสียส่วนใหญ่
อนึ่ง ข้อมูลต่างๆในบล็อกนี้ ไม่อาจยืนยันว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะประวัติศาสตร์นั้นต่างคน ย่อมบันทึกต่างกัน ถ้าจะยืนใครว่าผู้ใดถูก ก็ต้องค้นคว้าข้อมูลมาหักล้างกันใหม่จนกว่าจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ แต่ผมก็จะพยายามหาข้อมูลที่ถูกต้องมาอัพเสมอถ้าได้ข้อมูลที่ใหม่และถูก ต้องกว่ามาครับ
และในบล็อกก็จะมีงานภาพลงสี ที่ผมได้นำไปเผยแพร่ในpocketonlneและMoeboard ให้ชมด้วยครับ( งานศิลปะรับใช้นาซี )
ขอฝากเนื้อ ฝากตัว ฝากบล็อกด้วยนะครับ ไฮล์ ฮิตเลอร์!
ป.ล. ข้อมูลในบล็อก ไม่อนุญาติให้นำไปใช้ในเชิงพานิชย์นะครับ!
edit @ 2007/04/25 07:59:54
ความ คิดในการทำบล็อกคือ ต้องการเสนอเรื่องราวสงครามโลกครั้งที่สอง ในมุมของนาซีเยอรมันบ้างครับ ข้อมูลส่วนมากในบ้านเรา มักเสนอในแง่ของสัมพันธมิตรเสียส่วนใหญ่
อนึ่ง ข้อมูลต่างๆในบล็อกนี้ ไม่อาจยืนยันว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะประวัติศาสตร์นั้นต่างคน ย่อมบันทึกต่างกัน ถ้าจะยืนใครว่าผู้ใดถูก ก็ต้องค้นคว้าข้อมูลมาหักล้างกันใหม่จนกว่าจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ แต่ผมก็จะพยายามหาข้อมูลที่ถูกต้องมาอัพเสมอถ้าได้ข้อมูลที่ใหม่และถูก ต้องกว่ามาครับ
และในบล็อกก็จะมีงานภาพลงสี ที่ผมได้นำไปเผยแพร่ในpocketonlneและMoeboard ให้ชมด้วยครับ( งานศิลปะรับใช้นาซี )
ขอฝากเนื้อ ฝากตัว ฝากบล็อกด้วยนะครับ ไฮล์ ฮิตเลอร์!
ป.ล. ข้อมูลในบล็อก ไม่อนุญาติให้นำไปใช้ในเชิงพานิชย์นะครับ!
edit @ 2007/04/25 07:59:54
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น