ถึงแม้ท่านจะพูดไม่ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญไม่สามารถจะสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนได้แต่ท่านก็พูดถึงหลักการที่สำคัญของรัฐธรรมนูญว่า
“ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า มาตรา 3 ของร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเขาเห็นว่านี่คือหลักการใหญ่ที่สุด ดังนั้นบทบัญญัติข้อไหนขัดกับหลักข้อ 3 ถือว่าใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งเขาเห็นว่าบางบทบัญญัตินั้นผิดหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 3 อย่างชัดเจน บทบัญญัติข้อแรกคือที่มาของวุฒิสมาชิก ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนแรกมาจากกการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน ส่วนนี้เป็นประชาธิปไตย แต่อีก 123 คนมาจากการสรรหา ศ.ดร.ลิขิตกล่าวว่าทันทีที่มีการใช้วิธีการสรรหาก็ขัดหลักอำนาจอธิปไตยทันที และจำนวน 123 มากกว่า 77 ดังนั้นเมื่อมีการลงมติก็ไม่สามารถคานกันได้
“แม้จะเป็นคนที่มาเพื่อประโยชน์ชาติ แต่ไม่ใช่ประเด็น เพราะขาดหลักการสำคัญคือการมาจากประชาชน”
“แม้จะเป็นคนที่มาเพื่อประโยชน์ชาติ แต่ไม่ใช่ประเด็น เพราะขาดหลักการสำคัญคือการมาจากประชาชน”
(อ่านดูนะครับ) เพราะในสถาการณ์ปัจจุบันถ้าเราไม่สนใจเรื่องนี้เดียวใครๆเขาจะหาว่าเราล้าสมัยไม่สนใจเรื่องไร้สาระ
ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญหลายประการขัดหลักประชาธิปไตยชัดเจน ขณะที่นายกตั้งคำถามความชั่วร้ายในระบอบประชาธิปไตยเต็มใบก็มี
ศ.ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ กล่าวในการเสวนาวิชาการที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ่ายวันนี้ว่าเขาอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้บนพื้นฐานของประชาธิปไตยแบบสากล ซึ่งมีหลักการ 5 ประการ ได้แก่ อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน ต้องมีการปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีหลักนิติธรรมตามหลักการปกครองโดยกฎหมาย ต้องมีหลักการมีส่วนร่วม และต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า มาตรา 3 ของร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเขาเห็นว่านี่คือหลักการใหญ่ที่สุด ดังนั้นบทบัญญัติข้อไหนขัดกับหลักข้อ 3 ถือว่าใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งเขาเห็นว่าบางบทบัญญัตินั้นผิดหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 3 อย่างชัดเจน บทบัญญัติข้อแรกคือที่มาของวุฒิสมาชิก ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนแรกมาจากกการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน ส่วนนี้เป็นประชาธิปไตย แต่อีก 123 คนมาจากการสรรหา ศ.ดร.ลิขิตกล่าวว่าทันทีที่มีการใช้วิธีการสรรหาก็ขัดหลักอำนาจอธิปไตยทันที และจำนวน 123 มากกว่า 77 ดังนั้นเมื่อมีการลงมติก็ไม่สามารถคานกันได้
“แม้จะเป็นคนที่มาเพื่อประโยชน์ชาติ แต่ไม่ใช่ประเด็น เพราะขาดหลักการสำคัญคือการมาจากประชาชน”
ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์กล่าวว่าบทบัญญัติต่อมาที่ผิดหลักอธิปไตยเป็นของปวงชน คือมาตรา 23 ซึ่งเปิดทางให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้หากเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งที่ผ่านมาวิกฤตที่เกิดขึ้นในเมืองไทยเป็นวิกฤตที่สร้างขึ้นมาไม่ได้เกิดเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นวิกฤตเพื่อสร้างความชอบธรรมที่จะเอาคนนอกมาเป็นนายก และนี่ขัดกับหลักการในมาตรา 3 และเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตที่หนักที่สุด
ศ.ดร. ลิขิตชี้ว่าบทบัญญัติที่ไม่เป็นไปตามหลักอธิปไตยเป็นของปวงชนข้อที่ 3 คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง ขัดกับหลักการประชาธิปไตยอย่างชัดที่สุดเพราะคนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสามารถควบคุมฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งได้ กลายเป็นพี่ใหญ่หรือบิ๊กบราเธอร์มากำกับดูแล
“บิ๊กบราเธอร์นี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประชาชนเลย นี่เป็นประชาธิปไตยเสี้ยวใบเท่านั้น คือเป็นประชาธิปไตยเพียงแค่ 25 เปอร์เซ็นต์” ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ทิ้งท้ายด้วยคำถามว่า ประเทศไทยกับสังคมไทยจะไปทางไหน และประชาธิปไตยไทยจะไปทางไหน แต่คนที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นักการเมืองทุกฝ่ายต้องคิดดีๆ ผิดพลาดไม่ได้ เพราะจะเสียหายอย่างมหาศาล
อีกด้านหนึ่ง ช่วงเที่ยงของวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านหรือไม่ผ่านเป็นเรื่องที่ตนสั่งไม่ได้ แต่อยู่ที่ประชาชนว่าเรียนรู้ที่จะอยู่กันอย่างไรในอนาคต และตั้งคำถามกลับด้วยว่า ความชั่วร้ายต่างๆ ก็อาจจะเกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยเต็มใบได้เช่นกัน
“ไม่ใช่ผมสั่งหรือไม่สั่ง แต่อยู่ที่พวกท่านจะเรียนรู้ว่าจะอยู่กันอย่างไรในอนาคต จะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง จะอยู่ท่ามกลางการเมืองที่ไม่เหมือนปัจจุบัน ถ้าจะเอาแบบนั้นก็เอา แต่สิ่งที่จะเตือนไว้คือ รัฐธรรมนูญมีอยู่หลายหมวด หลายมาตรา อย่าไปดูแต่ 1 2 3 4 5 ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าอย่างนั้นมันก็คงจะไม่เป็นประชาธิปไตย ต่อให้พูดให้เป็นมันก็ไม่เป็น แต่ความชั่วร้ายที่มันเกิดขึ้นที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบมันจะมีหรือไม่” นายกรัฐมนตรีกล่าว
(ภาพ http://j.mp/1hZ7WPMศ.ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์ ในงานเสวนาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
บีบีซีไทย_________________________ cr.
_____________________________________
ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญหลายประการขัดหลักประชาธิปไตยชัดเจน ขณะที่นายกตั้งคำถามความชั่วร้ายในระบอบประชาธิปไตยเต็มใบก็มี
ศ.ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ กล่าวในการเสวนาวิชาการที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ่ายวันนี้ว่าเขาอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้บนพื้นฐานของประชาธิปไตยแบบสากล ซึ่งมีหลักการ 5 ประการ ได้แก่ อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน ต้องมีการปกครองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีหลักนิติธรรมตามหลักการปกครองโดยกฎหมาย ต้องมีหลักการมีส่วนร่วม และต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า มาตรา 3 ของร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเขาเห็นว่านี่คือหลักการใหญ่ที่สุด ดังนั้นบทบัญญัติข้อไหนขัดกับหลักข้อ 3 ถือว่าใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งเขาเห็นว่าบางบทบัญญัตินั้นผิดหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 3 อย่างชัดเจน บทบัญญัติข้อแรกคือที่มาของวุฒิสมาชิก ซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนแรกมาจากกการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน ส่วนนี้เป็นประชาธิปไตย แต่อีก 123 คนมาจากการสรรหา ศ.ดร.ลิขิตกล่าวว่าทันทีที่มีการใช้วิธีการสรรหาก็ขัดหลักอำนาจอธิปไตยทันที และจำนวน 123 มากกว่า 77 ดังนั้นเมื่อมีการลงมติก็ไม่สามารถคานกันได้
“แม้จะเป็นคนที่มาเพื่อประโยชน์ชาติ แต่ไม่ใช่ประเด็น เพราะขาดหลักการสำคัญคือการมาจากประชาชน”
ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์กล่าวว่าบทบัญญัติต่อมาที่ผิดหลักอธิปไตยเป็นของปวงชน คือมาตรา 23 ซึ่งเปิดทางให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้หากเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งที่ผ่านมาวิกฤตที่เกิดขึ้นในเมืองไทยเป็นวิกฤตที่สร้างขึ้นมาไม่ได้เกิดเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นวิกฤตเพื่อสร้างความชอบธรรมที่จะเอาคนนอกมาเป็นนายก และนี่ขัดกับหลักการในมาตรา 3 และเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตที่หนักที่สุด
ศ.ดร. ลิขิตชี้ว่าบทบัญญัติที่ไม่เป็นไปตามหลักอธิปไตยเป็นของปวงชนข้อที่ 3 คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง ขัดกับหลักการประชาธิปไตยอย่างชัดที่สุดเพราะคนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสามารถควบคุมฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งได้ กลายเป็นพี่ใหญ่หรือบิ๊กบราเธอร์มากำกับดูแล
“บิ๊กบราเธอร์นี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประชาชนเลย นี่เป็นประชาธิปไตยเสี้ยวใบเท่านั้น คือเป็นประชาธิปไตยเพียงแค่ 25 เปอร์เซ็นต์” ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ทิ้งท้ายด้วยคำถามว่า ประเทศไทยกับสังคมไทยจะไปทางไหน และประชาธิปไตยไทยจะไปทางไหน แต่คนที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นักการเมืองทุกฝ่ายต้องคิดดีๆ ผิดพลาดไม่ได้ เพราะจะเสียหายอย่างมหาศาล
อีกด้านหนึ่ง ช่วงเที่ยงของวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านหรือไม่ผ่านเป็นเรื่องที่ตนสั่งไม่ได้ แต่อยู่ที่ประชาชนว่าเรียนรู้ที่จะอยู่กันอย่างไรในอนาคต และตั้งคำถามกลับด้วยว่า ความชั่วร้ายต่างๆ ก็อาจจะเกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยเต็มใบได้เช่นกัน
“ไม่ใช่ผมสั่งหรือไม่สั่ง แต่อยู่ที่พวกท่านจะเรียนรู้ว่าจะอยู่กันอย่างไรในอนาคต จะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง จะอยู่ท่ามกลางการเมืองที่ไม่เหมือนปัจจุบัน ถ้าจะเอาแบบนั้นก็เอา แต่สิ่งที่จะเตือนไว้คือ รัฐธรรมนูญมีอยู่หลายหมวด หลายมาตรา อย่าไปดูแต่ 1 2 3 4 5 ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าอย่างนั้นมันก็คงจะไม่เป็นประชาธิปไตย ต่อให้พูดให้เป็นมันก็ไม่เป็น แต่ความชั่วร้ายที่มันเกิดขึ้นที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบมันจะมีหรือไม่” นายกรัฐมนตรีกล่าว
(ภาพ http://j.mp/1hZ7WPMศ.ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิตสาขารัฐศาสตร์ ในงานเสวนาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
บีบีซีไทย_________________________ cr.
_____________________________________
(ไม่เกี่ยวภาพข้างล่างนี้นะครับ เอิ้กๆๆ ประกอบเรื่องเฉยๆ มีสุขวันใหม่กันนะครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น