สงครามโลกครั้งที่สอง และนาซีเยอรมัน โดยยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
ระบบอาวุธทางเรือของกองทัพเยอรมัน
เรือลาดตระเวณหนัก ชั้น แอดมิรัล ฮิปเปอร์
เนื่องจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ได้ห้ามเยอรมันสร้างเรือที่มีขนาดเกิน10,000ตัน แอดมิรัล ฮิปเปอร์ จึงออกแบบให้มีระวางขับน้ำ12,500ตัน แต่จริงๆแล้วมีน้ำหนักมากสุดถึง18,600ตันทีเดียว โดยฮิปเปอร์นั้น ได้ต่อโดยกรรมวิธีเชื่อมประสานโดยไฟฟ้า ซึ่งทำให้เรือมีความคงทนกว่าการต่อแบบย้ำหมุดแบบเก่า
เรือชั้นฮิปเปอร์ ต้องการที่จะสร้างให้มีสมรรถภาพทัดเทียมกับเรือลาดตระเวณหนักชั้น อัลจีเรีย ของฝรั่งเศส และชั้น คันทรี ของอังกฤษ โดตติดตั้งอาวุธหลักคือปืน8นิ้ว และต้องการออกแบบเรือรุ่นนี้ให้มีระยะทำการ5,000ไมล์ทะเลที่ความเร็ว15นอต แตในการทดสอบ เรือชั้นฮิปเปอร์มีพิสัยทำการถึง6,500ไมล์ทะเลที่ความเร็ว17นอต
เรือฮิปเปอร์นั้นนับว่าเป็นเรือที่มีเทคโนโลยีสูงสุด ในยุคนั้น ติดระบบนำร่องเรือที่ทันสมัย และนับว่าเป็นเรือที่มีความงดงามที่สุดลำหนึ่งของกองทัพเรือเยอรมันทีเดียว โดยเรือชั้นฮิปเปอร์ถูกใช้ในภารกิจคุ้มครองเส้นทางเดินเรือและรังควาญเส้น ทางเดินเรือของข้าศึก
เรือชั้นนี้มีโครงการต่อมา5ลำ แต่สร้างเสร็จเพียง3ลำคือ แอดมิรัล ฮิปเปอร์ , บลูเชอร์ และ ปรินซ์ ออยเกน อีกสองลำ คือ เซย์ดลิทซ์ ได้ยกเลิกการก่อสร้าง และอีกลำคือ ตซาว์ ได้ขายให้กองทัพเรือโซเวียตเมือปี1941 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เปรโตรปาฟลอฟต์
เรือทั้งสามลำได้ปฏิบัติการในสงครามทางทะเลในหลาย สมรภูมิ โดยเรือบลูเชอร์ ถูกป้อมปืนกันฝั่งของนอร์เวย์ยิงจมที่อ่าวออสโล ในระหว่างการบุกนอร์เวยปี1940 แอดมิรัล ฮิปเปอร์ ถูกพันธมิตรยึดที่เมืองท่าคีล ในวันที่2เมษายน ปี1945 ส่วนปรินซ์ ออยเกน หลังเยอรมันยอมแพ้ อเมริกัน ได้ยึดเรือกลับไป และจมในภารกิจทดสอบระเบิดปรมาณูของอเมริกาที่หมู่เกาะบิกินี
ข้อมูล
ระวางขับน้ำ---14,050ตัน-18,600ตัน
ยาว--210เมตร
สูง--21.8เมตร
กินน้ำลึก--7เมตร
เครื่องยนต์----เครื่องจักรไอน้ำกำลัง1แสนแรงม้า
ความเร็ว--32.5นอต
อาวุธ---- ปืน8นิ้ว 8กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 12กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน40มม. 6กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม. 12กระบอก ปืน20มม. 8กระบอก ตอร์ปิโด21นิ้ว12นัด ทุ่นระเบิด 160ลูก
เกราะหนา--80-160มม.
พิสัยทำการ---8,000ไมล์ทะเลที่ความเร็ว20นอต
เครื่องบิน---อราโด 196 จำนวน 2-3ลำ
เรือในชั้น---5ลำ แอดมิรัล ฮิปเปอร์ บลูเชอร์ ปรินซ์ ออยเกน เซย์ดลิทซ์(ยกเลิกการสร้าง) ลุตซาว(ขายให้โซเวียตในปี1941)
เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะชั้น ดอยช์ลันช์
แนวคิดการต่อเรือลำนี้เกิดขึ้นในปี1928 เยอรมัน ต้องการที่จะต่อเรือที่มีพร้อมทั้งประสิทธิภาพ ความสง่างาม และความเร็ว เพื่อชดเชยกำลังเรือรบที่สูญเสียไปในสงครามโลกครั้งที่1 แต่ติดที่ว่า เยอรมัน ได้เซนต์สนธิสัญญาแวร์ซาย์ ที่ห้ามเยอรมันต่อเรือที่มีขนาดระวางขับน้ำเกิน10,000ตัน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการต่อเรือรบขนาดใหญ่ของเยอรมันอย่างมาก เยอรมัน จึงต้องออกแบบเรือรบตามหลักนิยมที่ว่า "ต้องเร็วกว่าเรือที่ใหญ่กว่า(เรือประจัญบาน)และต้องทรงอานุภาพกว่าเรือที่ เล็กกว่า(เรือลาดตระเวน เรือพิฆาต)"
โครงการต่อเรือหุ้มเกราะชั้นดอยช์ลันช์จึงได้เริ่ม ต้นขึ้น ตัวเรือต่อด้วยกรรมวิธีแบบเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า ทำให้ตัวเรือมีความคงทนกว่าเรือที่ต่อแบบย้ำหมุด เพื่อเป็นการเพิ่มความเร็วให้กับเรือ จึงได้ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลสองเพลาใบจักร ทำความเร็วได้ถึง28.5น็อต การติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลนี้เองทำให้เป็นต้นแบบในการสร้างเรือติดเครื่อง จักรดีเซลในยุคต่อมา เรือยังติดระบบวิทยุสื่อสาร ระบบเรดาห์ และเครื่องมีถอดรหัสประมวลผลที่ทันสมัย ระบบอาวุธ เรือชั้นนี้ได้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด11นิ้ว 6กระบอก(2ป้อม ป้อมละ3กระบอก หน้าและหลัง) มีหอควบคุมการยิงแบบเรือรบขนาดเล็ก ทำให้ได้เรือที่ตรงตามหลัก "เร็วกว่าเรือประจัญบานแต่ทรงอานุภาพกว่าเรือลาดตระเวนหรือเรือพิฆาต"
เรือที่ออกแบบช่วงแรกนั้น มีขนาดระวาง10,200ตัน เพื่อไม่ให้ละเมิดสนธิสัญญา แต่ต่อมากลับมีการเพิ่มน้ำหนักเรือเป็น12,100ตัน ถึง16,400ตันเลยทีเดียว
เรือชั้นดอยช์ลันช์เข้าประจำการในกองทัพเรือเยอรมัน ในทศวรรษที่1930 จำนวน3ลำ ได้แก่ ดอยช์ลันช์,แอดมิรัล เชียร์ และแอดมิรัล กราฟสปีมันได้รับการยอมรับจากนาวีทั่วโลกว่า มันเป็นเรือที่ทรงอานุภาพแท้จริง และยังเป็นเรือที่เยอรมันภาคภูมิใจด้วย โดยได้เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือทุกครั้ง การอวดธงยังน่านน้ำต่างประเทศ และในโอกาสงานต่างๆ
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นในปี1939 เรือในชั้นทั้งสามลำ ได้เข้าร่วมปฏิบัติการรบทางทะเลทุกครั้ง โดยเน้นที่การโจมตีเส้นทางขนส่งทางทะเลของกองทัพพันธมิตร โดยเรือลำแรกที่จมคือ เรือ แอดมิรัล กราฟ สปี จมในวันที่17ธันวาคม ปี1939 ในการรบที่แม่น้ำพลาเต ประเทศอาเจนติน่า หลังได้ปฏิบัติการสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลในการต่อตีเส้นทางเดินเรือของ พันธมิตรในแอตแลนติก เรือลำต่อมาที่จมคือ เรือแอดมิรัล เชียร์ ที่ได้ปฏิบัติภารกิจต่อตีเส้นทางเดินเรือตั้งแต่แอตแลนติกถึงมหาสมุทร อินเดีย และถูกกองทัพอากาศอังกฤษทิ้งระเบิดจมที่เมืองท่าคีล ในปี1945 ส่วนเรือลำแรกของชั้น คือ ดอยช์ลันช์ ซึ่งต่อมาหลังการจมของเรือกราฟ สปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อเรือ จาก ดอยช์ลันช์ เป็น ลึทโซ่ว์ ( ดอยช์ลั้นช์ แปลว่า ประเทศเยอรมัน เหตุที่เปลี่ยนชื่อเพราะว่า ถ้าเรือที่ชื่อเหมือนประเทศเยอรมันจมลงแล้ว ประเทศเยอรมันอาจล่มจมไปด้วย ) ลึทโซ่ว์อยู่รอดจนจบสงคราม และถูกโซเวียตยึดไปเป็นเรือเป้าซ้อมยิง และถูกนำไปจมที่ทะเลบอลติกในปี1949
เรือชั้นนี้ แม้จะมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็มีจุดอ่อนที่น่ากลัว นั่นคือเกราะป้องกันข้างลำตัวเรือที่บางมาก โดยหนาเพียง3นิ้วเท่านั้น เนื่องจากข้อกำหนดในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มขนาดเกราะให้มากกว่านี้ได้ ถึงแม้จะเป็นสะเก็ดกระสุนปืนใหญ่ก็ตาม ก็สามารถสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับด้านข้างเรือที่เกราะบางที่สุดได้ จากการรบที่แม่น้ำพลาเตของเรือ กราฟ สปี ตัวเรือถูกสะเก็ดกระสุนจากเรือรบอังกฤษจนเสียหายอย่างหนัก ก่อนที่จะจมตัวเองลง และระบบความคุมการยิงของเรือ แม้จะมีปืนที่ทรงอานุภาพเทียบเท่าเรือประจัญบาน แต่ระบบควมคุมการยิงกลับไม่สามารถจับเป้าหมายพร้อมกันหลายเป้าได้ จำเป็นต้องมุ่งมั่นต่อเป้าเดียวเมื่อทำการรบ ด้วยจุดอ่อนดังกล่าวทำให้ในปี1940 เรือที่เหลืออยู่สองลำคือลุตโซว์(ดอยช์ลันช์) และแอดมิรัล เชียร์ จึงได้ถูกลดชั้นมาเป็นเรือลาดตระเวนหนัก ซึ่งเรือชั้นนี้จะสามารถรับภารกิจของเรือประเภทนี้ได้ดีกว่า
ข้อมูล
ระวางขับน้ำ--12,100 -16,400ตัน
ยาว--186เมตร
สูง-- 21.6เมตร
กินน้ำลึก---7.4เมตร
เครื่องยนต์---เครื่องยนต์ดีเซลแบบMANจำนวน8เครื่อง ใบจักรสองเพลา ให้กำลัง52,050แรงม้า
ความเร็ว--28.5น็อต
อาวุธ--ปืนใหญ่11นิ้ว(280มม.) 6กระบอก ปืนรอง 150มม. 8กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 6กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม. 8กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน 20มม. 10กระบอก ตอร์ปิโด21นิ้ว( 533มม.) 8นัด
เกราะ-- ดาดฟ้า 40มม. ข้างลำเรือ 80มม. ป้อมปืน 160มม.
ระยะทำการ---8,900ไมล์ทะเลที่ความเร็ว20น็อต
เครื่องบินทะเล---อราโด-196 จำนวน2ลำ
ลูกเรือ --- 1,150นาย
เรือในชั้น--3ลำ ได้แก่ ดอยช์ลันช์ หรือลึตโซว์ , แอดมิรัล เชียร์ และ แอดมิรัล กราฟ สปี
เรือชาร์นฮอร์สต์ ก่อนการปรับปรุง
เรือชาร์นฮอร์สต์ หลังการปรับปรุง
เรือลาดตะเวณประจัญบาน ชั้น ชาร์นฮอร์สต์
เป็นเรือรบขนาดใหญ่ชั้นแรกที่เยอรมันต่อหลังแพ้ สงครามโลกครั้งที่1 และถูกจับเซนสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ที่ห้ามเยอรมันสร้างเรือขนาดใหญ่กว่า10,000ตัน แต่หลังการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ที่ประกาศสร้างกองทัพขึ้นมา และการลงนามในสนธิสัญญาจำกัดกำลังทางเรือ อังกฤษ-เยอรมัน ที่สามารถให้เยอรมันสร้างเรือรบขนาดไม่เกิน35,000ตันได้ ทำให้ทางเยอรมัน จึงได้ออกแบบเรือชั้นกไนส์เนาส์ขึ้นมา
เรือลำแลกมีคำสั่งสร้างในปี1934 ภายใต้โครงการก่อสร้างเรือประจัญบานแบบD ติดปืน11นิ้ว 9 กระบอกแต่การก่อสร้างก็มีปัญหาขลุกขลักบ้าง ทำให้ต้องแก้แบบแปลนหลายครั้ง จนต้องวางกระดูกงูใหม่ในปี1939 และเรือลำแรกก็ได้เข้าประจำการในปี1938 คือเรือ ไกน์เนาส์ ตั้งชื่อมาจาก เรือลาดตระเวณหุ้มเกราะในสงครามโลกครั้งที่1เรืออีกลำในชั้นคือเรือ ชาร์นฮอร์ส ตั้งชื่อตามเรือในสงครามโลกครั้งที่1เช่นกันประจำการในปี1939 ซึ่งเรือทั้งสองลำเป็นเรือที่สวยงามที่สุดลำหนึ่งในยุคนั้น
หลังการทดสอบเรือ ได้พบว่า เรือมีปัญหาน้ำทะเลซัดสาดขึ้นมาหัวเรือ จึงออกแบบหัวเรือให้มีลักษณะเรียวยาวและเป็นทรงป้านเพื่อป้องกันน้ำทะเล มีการปรับปรุงหม้อน้ำ และสร้างโรงเก็บเครื่องบินทะเล
หลังสงครามเริ่มต้น เรือกไนส์เนาส์และชาร์นฮอร์ส ก็ถูกโจมตีชิมลางจากกองทัพอากาศอังกฤษในวันที่4กันยายน 1939 แต่เครื่องบินอังกฤษถูกยิงสกัดกั้นเสียก่อน หลังการทดสอบในทะเลบอลติก เรือง ชาร์นฮอร์ส และกไนเนาส์ ก็ปฏิบัติการรบครั้งแรกที่ชายฝั่งไอซ์แลน และได้ยิงจมเรือลำเลียงติดอาวุธของอังกฤษ ชื่อ "ราวันพินดี" ในวันที่21พฤศจิกายน 1939 ระหว่างวันที่7-12เมษายน 1940 ได้เข้าร่วมยุทธการ "เวเซอร์บุง" ในภารกิจบุกนอร์เวย ในวันที่8มิถุนายน เรือทั้งสองลำได้เข้าสนธิกำลังเป็นกองเรือเฉพาะกิจในยุทธการจูโน และสามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบิน กลอเรียส เรือพิฆาติ อาร์เดนส์ และ อากัสตา ของอังกฤษได้
หลังจากนั้นเรือทั้งสองลำก็ทำหน้าที่โจมตีกองเรือ ลำเลียงของพันธมิตรในแอตแลนติกเหนือในปฏิบัติการ เบอร์ลินและกลับเข้าสู่ท่าเรือที่เมืองท่าเบรสต์ ในเขตยึดครองเยอรมันในฝรั่งเศส
ในปี1942 วันที่11-13 กุมภาพันธ์ กไนส์เนาส์ และ ชาร์นฮอร์ส ก็ได้เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจที่อันตรายที่สุดคือ ยุทธการเคลเบรรุส แม้ปฏิบัติการนี้จะเป็นการเคลื่อนกำลังจากเมืองท่าในฝรั่งเศสไปยังเมืองท่า วิลเฮล์มชาเฟนในเยอรมัน แต่ก็เป็นการเดินเรือผ่านเส้นทางเดินเรือที่อันตรายที่สุดในโลกคือ ช่องแคบอังกฤษ ที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิด เรือดำน้ำ เรือรบเรือตอร์ปิโด และเครื่องบินรบของฝ่ายอังกฤษที่ดักซุ่มอยู่ เรือกำลังหลักในยุทธการคือ ชาร์นฮอร์ส(เรือธง) กไนส์เนาส์ และเรือลาดตะเวณหนัก ปริ๊นซ์ ออยเกน คุ้มกันโดยเรือพิฆาติ6ลำ และเรือตอร์ปิโด24ลำ และเคลื่อนพลมาถึงเมืองท่าวิลเฮล์มชาดฟนได้ แต่ชาร์นฮอร์ส ถูกทุ่นระเบิดเสียหายอย่างหนัก ทำให้ต้องซ่อมแซมไปจนถึงสิ้นปี1942
เรือชาร์นฮอร์ส จมในวันที่26ธันวาคม 1943 ในยุทธการ ออสต์ฟรอนต์ โจมตีเส้นทางลำเลียงของพันธมิตรที่จะส่งไปยังรัสเซีย โดยชาร์นฮอร์สต์ ถูกเรือประจัญบาน "ดยุก ออฟ ยอร์ค" ของอังกฤษและเรือลำอื่นๆของอังกฤษยิงจม ลูกเรือกว่า1968คน เสียชีวิตเกือบทั้งหมด
หลังการจมของชาร์นฮอร์สทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำปืน ใหญ่15นิ้ว 6กระบอก ไปติดตั้นบนเรือลำเดียวที่เหลือคือ กไนส์เนาส์ แต่ความคิดนี้ก็ถูกยกเลิก และป้อมปืน15นิ้วเหล่านั้นก็ถูกนำไปสร้างป้อมปืนรักษาฝั่งแทน
เรือ กไนส์เนาส์ ถูกยุบเป็นเศษเหล็กที่เมืองท่านโกเธนฮาเฟน(ปัจจุบันคือเมืองกดีเนีย ของโปแลนด์) ในวันที่23มีนาคม ปี1945
ข้อมูล
ระวางขับน้ำ--31,500-38,900ตัน
ยาว---2.5.4เมตร
สูง--30เมตร
กินน้ำลึก--9เมตร
เครื่องยนต์---เครื่องจักรไอน้ำ 3เครื่องยนต์ เครื่องจักรดีเซล 3เครื่องยนต์ กำลัง164,164แรงม้า ความเร็ว33น็อต
อาวุธ
กไนส์เนาส์
ปืนหลัก 11นิ้ว(280มม.) 9กระบอก ปืนรอง 150มม. 12กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 14กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม.16กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน20มม. 10-16กระบอก ตอร์ปิโด 21 นิ้ว 6ท่อยิง
ชาร์นฮอร์ส
ปืนหลัก 11.1นิ้ว(283มม.) 9กระบอก ปืนรอง 150มม. ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 14กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม. 16กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน20มม. 10กระบอก (ต่อมาเพิ่มเป็น38กระบอก) ตอร์ปิโด 21นิ้ว 6ท่อ
เกราะ --- ข้างลำตัว 350มม.ป้อมปืน 360มม.ดาดฟ้า 95มม.
ระยะทำการ--- กไนส์เนาส์ 8,400ไมล์ทะเลที่ความเร็ว19น็อต ชาร์นฮอร์ส 10,100ไมล์ทะเลที่ความเร็ว19น็อต
เครื่องบินทะเล--3-4ลำ
กำลังพล --- 1,968นาย
เรือในชั้น--2ลำ กไนส์เนาส์ และ ชาร์นฮอร์ส
เรือประจัญบานชั้น บิสมาร์ค
นี่คือเรือประจัญบาญเต็มรูปแบบชั้นแรกและชั้นเดียว ของกองทัพเรือนาซีเยอรมัน และยังได้รับการกล่าวขวัญว่า เป็นเรือประจัญบานที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกยุคนั้น
หลังการต่อเรือประจัญบานชั้นชาร์นฮอร์สต์ กองทัพเรือเยอรมันก็เริ่มวางแผนต่อเรือประจัญบานที่ใหญ่กว่าขึ้นมา เรือบิสมาร์ค(ตั้งชื่อตามรัฐบุรุษแห่งจักรวรรดิเยอรมัน) วางกระดูกงูในวันที่1มิถุนายน ปี1936 ที่อู่เรือบริษัทโบล์มแอนโฟท เมืองฮัมบูร์กและทำการปล่อยลงน้ำในวันที่14กุมภาพันธ์ ปี1939 โดยมี โดโรธี ฟอน โลเวนเฟล หลานของออตโต ฟอน บิสมาร์ค มาเป็นสุภาพสตรีในพิธีปล่อย และมีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มาเป็นประธานพิธี
เรือน้องของบิสมาร์ค คือ ทีร์ปีตส์ ตั้งชื่อตามจอมพลเรือ อัลเฟรด ฟอน ทีร์ปีตส์ บิดาแห่งกองทัพเรือเยอรมัน วางกระดูกงูเมื่อวันที่2พฤศจิกายน 1936 ปล่อยลงน้ำวันที่1เมษายน 1939 ขึ้นระวางประจำการ ในวันที่25กุมภาพันธ์ ปี1941
เรือชั้นบิสมาร์คนั้น นับว่าใช้วิธีการต่อเรือที่แตกต่างจากวิธีการต่อของทุกชาติในขณะนั้น โดยใช้วิธีการต่อเรือแบบเชื่อมประสานโลหะโดยไฟฟ้า ทำให้แข็งแกร่งคงทนกว่าเรือที่ต่อแบบย้ำหมุดแบบเก่า และยังสามารถต่อเรือให้ขนาดใหญ่มากโดยที่น้ำหนักไม่มากได้ นอกจากเกราะที่หนาแล้ว เรือชั้นบิสมาร์คยังมีการออกแบบเรือให้มีระบบป้องกันความเสียหายในเรือด้วย การสร้างห้องเล็กๆแบ่งซอยมีผนังเหล็กกั้น ทำให้เวลาน้ำเข้าเรือ ลูกเรือสามารถผนึกกั้นน้ำในห้องเล็กๆเหล่านั้นได้ ทำให้เรือสามารถลอยลำได้นานแม้ถูกโจมตีอย่างหนัก
ภารกิจการรบครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของเรือบิสมาร์ค เริ่มในวันที่16พฤภาคม ปี1941 ในรหัสยุทธการ"ไรน์บุง" เรือบิสมาร์คและเรือลาดตะเวณหนัก ปรินซ์ ออยเกน ภายใต้การบรรชาการของพลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ ออกปฏิบัติการโจมตีกองเรือลำเลียงของอังกฤษจากแอตแลนติกเหนือลงมาถึงแถบ แอตแลนติกตอนกลาง(แถบเส้นศูนย์สูตร) และได้แสดงการรบอย่างยอดเยี่ยม ในวันที่24พฤษภาคม กองเรือบิสมาร์ค ได้ปะทะกับเรือลาดตระเวณประจัญบาน "ฮู้ด" ซึ่งถือว่าเป็นเรือที่ทรงอานุภาพที่สุดในโลกของอังกฤษ และเรือประจัญบาน ปรินซ์ ออฟ เวลส์ เรือประจัญบานรุ่นใหม่ของอังกฤษ ที่ช่องแคบเดนมาร์ก(ระหว่างไอซ์แลนด์กับกรีนด์แลนด์) นักการทหารเรียกการรบครั้งนั้นว่า"ยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก" ผลการรบคือ บิสมาร์ค สำแดงพลังจมเรือฮู้ดได้ในการยิงกระสุนตับที่5 โดยเรือฮูเดระเบิดเป็นสองท่อนและจมอย่างรวดเร็ว และบิสมาร์คยังสามารถสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ ปรินซ์ ออฟ เวลส์ ได้อีก
หลังการรบ บิสมารื ได้แยกกับ ปรินซ์ ออยเกิน เพื่อหลบหนีอังกฤษ ฝ่ายอังกฤษจึงส่งกองบินทิ้งตอร์ปีโดจากเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าโจมตีบิสมา ร์ค ทำให้หางเสือบิสมาร์คเสียหาย ไม่สามารถปรับให้แล่นตรงได้ จึงต้องแล่นวนจนกองเรืออังกฤษตามมาทัน กองเรืออังกฤษ นำโดยเรือประจัญบาน รอดนี่ย์และ คิง จอร์จ ที่5 ได้ระดมยิงเรือบิสมาร์คอย่างหนัก จนทหารเรือเยอรมันบนบิสมาร์ค ต้องเปิดน้ำจมเรือตัวเอง เพื่อรักษาเกียรติของทหารเรือเยอรมันเอาไว้ ลูกเลือบิสมาร์ค2,200นาย รอดชีวิต 230นาย โดนผู้บรรชาการเรือ นาวาเอกเอิร์นส์ ลินเดอร์มานน์ และแม่ทัพเรือ พลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ ได้พลีชีพโดยการจมไปพร้อมกับเรืออย่างกล้าหาญ
แต่การรบของบิสมาร์คนั้น ถือว่าเป็นยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะเป็นการสู้อย่างสมศักดิ์ศรีของเรือรบที่เรียกได้ว่า แข็งแกร่งที่สุดในโลก (บิสมาร์คและฮู้ด) ไม่มีการรบทางทะเลใดๆในภายหลังจะเทียบเท่าการรบครั้งนี้ และยุทธการไรน์บุงยังเป็นชัยชนะทั้งทางยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ของเยอรมัน ทางยุทธวิธีคือ สามารถจมเรือฮู้ด ที่ทรงพลังได้ ในทางยุทธศาสตร์คือ กองทัพเรือเยอรมันสามารถดึงกองทัพเรืออังกฤษทั้งหมดให้ขึ้นสู่แอตแลนติก เหนือเพื่อไล่ล่าบิสมาร์ค ทำให้เส้นทางลำเลียงทางทะเลของอังกฤษไม่ได้รับการคุ้มกัน เยอรมันจึงสามารถโจมตีกองเรือลำเลียงโดยง่าย
แต่หลังการจมของบิสมาร์ค ฮิตเลอร์ สั่งให้ลดการปฏิบัติการของกองเรือผิวน้ำขนาดใหญ่ลง เรือทีร์ปีตส์ที่เป็นเรือน้อง ก็ได้รับคำสั่งให้ไปประจำการในอัลตาฟยอต ในนอร์เวย์ เพื่อโจมตีกองเรือลำเลียงของพันธมิตรที่ส่งกำลังไปช่วยรัสเซีย แต่ทีร์ปีตส์ ก็แทบไม่ได้ออกจากท่าเลย โดยทีร์ปีตส์ ได้ยิงปืนใหญ่หลักแค่ครั้งเดียวคือ ยุทธการซิซิเลียน เรือทีร์ปีตส์ร่วมกับเรือชาร์นฮอร์สต์ คุ้มกันโดยเรือพิฆาติ9ลำ ไประดมยิงคลังอาวุธของอังกฤษบนเกาะสปริทซ์เบอร์เกนต์ ในวันที่23กันยายน ปี1943
ช่วงปี1943-1944 อังกฤษ ระดมโจมตีทีร์ปีตส์ทางอากาศอย่างหนัก ทีร์ปีตส์ ถูกเรือบินทิ้งระเบิดแบบแลงคาสเตอร์นะดมโจมตีจนเสียหายจอดที่ท่าในวัน ที่12พฤจิกายน 1944 ทีร์ปีตส์เสียหายหนัก จนไม่อาจซ่อมแซมและใช้งานได้อีก
ช่วงปี1948-1957 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการแยกชิ้นส่วนซากเรือทีร์ปีตส์ ที่จอดร้างในนอร์เวย์
ข้อมูลเรือ
ระวางขับน้ำ-ปกติ41,000ตัน สูงสุด 50,900ตัน(ทีร์ปีตส์ สูงสุด 52,600ตัน)
ยาว-- บิสมาร์ค 251เมตร ทีร์ปีตส์ 253เมตร
สูง--- 36เมตร
กินน้ำลึก--- 10.52เมตร (ทีร์ปีตส์10.61เมตร)
เครื่องจักร--- บิสมาร์ค - เครื่องจักรไอน้ำวากเนอร์ 12เครื่อง เพลาใบจักรของโบล์ม แอนด์ โฟสต์ 3เพลา กำลัง150,170แรงม้า
ทีร์ปีตส์ - เครื่องจักรไอน้ำวากเนอร์12เครื่อง เพลาใบจักรของบราว โบเวรี่ 3เพลา ให้กำลัง163,026แรงม้า
ความเร็ว--สูงสุด 30น็อต มัธยัธ 16น็อต
อาวุธ--- ปืนใหญ่หลักแบบSKC 34 ขนาด15นิ้ว(380มม.)4ป้อม รวม8กระบอก ปืนรอง 150มม. 12กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 16กระบอก ปืน20มม. 18กระบอก(ในทีร์ปีตส์มีการติดตั้งเป็น78กระบอกในปี1944) ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม. 16กระบอก ตอร์ปิโด 21 นิ้ว 8ท่อยิง(เฉพาะทีร์ปีตส์)
พิสัยทำการ-- 9,280ไมล์ทะเลที่ความเร็วมัธยัธ (16น็อต)
เกราะ --- ป้อมปืน 360มม. กราบเรือ 320มม. เกราะหอบังคับการ 350มม.
เครื่องบิน--- อราโด 196 จำนวน4ลำ
ลูกเรือ--- บิสมาร์ค 2,200นาย ทีร์ปีตส์ 2,608นาย
edit @ 10 Feb 2008 19:44:42 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
suriya mardeegun
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น